Astaxanthin 6 mg from Haematococcus Pluvialis Extract

ทำไมปลาแซลมอนจึงว่ายทวนน้ำได้ ในฤดูวางไข่?

ในระหว่างฤดูวางไข่ ปลาแซลมอนจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำ ในระหว่างทางต้องเผชิญกับทั้งแสงแดด ความร้อน และ ต้องใช้พลังงานอย่างมากในการว่ายทวนน้ำ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระและการอักเสบขึ้นมากมาย ปลาแซลมอนจะกินสาหร่ายสีแดง ชื่อว่า ฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส ซึ่งมีสารแอสตาแซนธินเป็นส่วนประกอบ แอสตาแซนธินจะถูกนำไปสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อปลาแซลมอนมีสีแดง สารแอสตราแซนทีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ ทำให้เมื่อปลาแซลมอนว่ายทวนน้ำเพื่อมาวางไข่ จึงไม่เกิดอาการอักเสบขึ้นนั่นเอง

Astaxanthin (แอสตาแซนธิน) ราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งพบมากในสาหร่ายสีแดง Haematococcus Pluviali อีกทั้งสามารถพบได้ในผัก ผลไม้ที่มีสีส้มหรือสีเหลืองเช่นแครอท ฟักทอง และยังพบได้ในสัตว์ทะเลบางชนิดที่กินสาหร่ายสีแดงเป็นอาหารเช่น ปลาแซลมอน มีความแรงมากกว่าวิตามินอี 550 เท่า และมากกว่า beta-carotene 40 เท่า

เป็นสารอาหารในกลุ่ม แคโรทินอยด์ (Caroteniod) ซึ่งเป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง สารอาหารในกลุ่มแคโรทินอยด์ มีมากกว่า 700 ชนิด ชนิดที่เป็นที่นิยมและรู้จักกัน เช่น Beta-carotene, Lutein, Lycopene, Astaxanthin เป็นต้น

ซึ่งแอสตราแซนธิน แตกต่างจาก carotenoid ตัวอื่นๆ เช่น Beta-carotene, Vitamin A ตรงที่ไม่มีฤทธิ์ Pro-Oxidant ซึ่งก็คือเมื่อออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแล้ว ตัวมันจะไม่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระใหม่ตามมาอีกนั่นเอง

จากการศึกษาต่างๆพบว่า astaxanthin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง (potent antioxidant effect) และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory effect) จึงช่วยปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่ให้โดนทำลายจากอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้อง DNA หรือสารพันธุกรรมในเซลล์จากการถูกทำลายด้วยรังสียูวีได้

แอสตาแซนธิน มีความสามารถต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากออกซิเจนซิงเล็ท (singlet oxygen quenching O2) ได้ดีที่สุดซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่ได้จากแสงแดด ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่าวิตามินซีถึง 6000 เท่า 

แอสตาแซนธินจะพบอยู่ใน บริเวณ phospholipid membrane ซึ่งเป็นส่วนประกอบของชั้นผิวหนัง มีหน้าที่ดักจับอนุมูลอิสระ ได้ทั้งภายในเซลล์ และด้านนอกของ phospholipid membrane ในขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระประเภทอื่น เช่น vitamin C จะวางตัวอยู่บริเวณภายนอก phospholipid membrane ส่วน β-carotene จะอยู่ภายในชั้นไขมันของ phospholipid membrane เมื่อศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น ๆ พบว่า astaxanthin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า vitamin C ถึง 6,000  เท่า และสูงกว่า vitamin E 100 เท่า เมื่อทดสอบด้วยวิธีsinglet oxygen quenching และ lipid peroxidation

◾Astaxanthin 6 mg

ผลต่อระบบผิวหนัง

แอสตาแซนธินช่วยทำให้ collagen fiber กลับฟื้นคืนสภาพภายหลังถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ส่งผลทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วย ยับยั้งการสร้างเมลาโทนิน และกระบวนการอักเสบที่ชั้น epidermis ได้

 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ

พบว่าประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง กว่า เบตาแคโรทีน (β-carotene) ลูทีน (Lutein) ซีแซนธิน (zeaxanthin) และแคนธาแซนธิน (Canthaxantin) ประมาณ 10 เท่า และมีประสิทธิภาพ สูงกว่า วิตามินอี (α-tocopherol) ประมาณ 500 เท่า 

ผลต่อระบบกล้ามเนื้อ

แอสตาแซนธินช่วยเสริมกระบวนการเมแทบอลิซึมของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการแพร่ของ lactic acid ในกล้ามเนื้อ จึงช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อล้า ช่วยลดการสร้าง lactic acid เพิ่มกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันแทนน้ำตาลในระหว่างการออกกำลังกาย ทำให้เพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายมากขึ้น

ฤทธิ์เสริมภูมิต้านทาน

จากการศึกษาในหลอดทดลองของแอสตาแซนธิน พบว่ามีส่วนช่วยในการเสริมภูมิต้านทาน เนื่องจากมันไปเพิ่มจำนวนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิด เช่น ช่วยเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว lymphocyte , เพิ่มการผลิต IgG และ IgM, กระตุ้นเซลล์ natural killer (NK) ให้ผลิต interferon-γ (IFN-γ) ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของ macrophage, NK cell และ B-cell เป็นต้น

ฤทธิ์ต้านมะเร็ง

แอสตาแซนธินมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยส่วนใหญ่ได้ทำการในสัตว์ทดลอง ได้มีการรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าแอสตาแซนธินอาจมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ระบบทางเดินอาหาร ระบบปัสสาวะ หรืออาจช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกและกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูได้

แอสตาแซนธินมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังจากรังสีอุลตราไวโอเลต ที่ไปกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นแบบลูกโซ่ของไขมันทำให้เกิดอนุมูลอิสระ

ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

สารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ได้แก่ เบตาแคโรทีน แคนธาแซนธิน รวมทั้งแอสตาแซนธิน พบว่ามีส่วนช่วย ในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของ LDL-cholesterol ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดการอุดตัน ในระบบหลอดเลือดหัวใจได้

◾ Vitamin E (Dl-Alpha-Tocopheryl)   

แอสตาแซนธิน มีคุณสมบัติละลายในไขมันได้ดี จากการศึกษาพบว่าแอสตาแซนธิน ในสูตรตำรับ lipidbased เช่น Vitamin E จะช่วยเพิ่มการดูดซึม 3.7เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับสูตร ที่มีเฉพาะแอสตาแซนธิน เพียงอย่างเดียว 

นอกจากนี้ การรับประทานหลังอาหาร และ ใช้เทคโนโลยี DR Caps จะทำให้เพิ่มการดูดซึมแอสตาแซนธินได้ดีขึ้น

เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย
  • ผู้ที่ต้องการดูแลผิวหน้า ลดเลือนริ้วรอย คงความอ่อนเยาว์
  • ผู้ที่ต้องการลดภาวะอักเสบในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่ต้องการปกป้องผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดด และรังสีอัลตราไวโอเลต

ข้อแนะนำการรับประทาน

รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละครั้ง หลังอาหาร


อ้างอิง

  1. อ.ภญ.ฑิภาดา สามสีทอง. บทบาทและการออกฤทธิ์ของ astaxanthin ในทางคลินิก(2561). วงการยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566,จากเว็บไซต์: https://www.wongkarnpat.com/upfilecpe/CPE239.pdf
  2. ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ และ ดร.มารุจ ลิมปะวัฒนะ. แอสตาแซนธิน: คุณค่าที่มากกว่าความเป็นสี(2552-2553). วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 5(1), 7-10