ทำไมทานแคลเซียมแล้วยังเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่?

แม้ว่าแคลเซียมจะมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจและการแข็งตัวของเลือด แต่คุณเคยทราบไหมว่าแคลเซียมที่อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละรูปแบบมีการดูดซึมและให้ปริมาณแคลเซียมที่แตกต่างกันไป บางชนิดดูดซึมได้ไม่ดีและยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องท้องผูก หรือแคลเซียมบางชนิดถูกดูดซึมได้ดีมากแต่กลับให้ปริมาณแคลเซียมที่ต่ำมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เราได้ปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและยังเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ดีแม้จะทานแคลเซียมอยู่ก็ตาม โดยทั่วไปในท้องตลาดแคลเซียมจะอยู่ในรูปของเกลือคาร์บอเนต เรียกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน มีผลการวิจัยยืนยันว่าเซลล์ของลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้จำกัด คือ ดูดซึมได้ประมาณ 15-20% ของปริมาณที่รับประทานเท่านั้น จึงเกิดการตกค้างของแคลเซียมในร่างกาย

การทานแคลเซียมเสริมอาหารก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อย่างไร??

การรับประทานแคลเซียมไม่ถูกวิธีกลับก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่สูงเกินไป และไม่ถูกดูดซึมอาจทำให้เกิดการสะสมจนก่อให้เกิดอันตราย เช่น แคลเซียมอาจจะสมเกิดเป็นหินปูนที่เต้านม หรือหากเกิดการสะสมในไตก็อาจก่อให้เกิดนิ่ว หรืออาจไปสะสมเป็นหินปูนอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็ง หรืออาจไปสะสมที่ลิ้นหัวใจ หรือที่เยื่อหุ้มหัวใจ หากเกิดขึ้นกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่งผลให้หลอดเลือดเกิดภาวะตีบตันและนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด

ทานแคลเซียมอย่างไรให้เกิดประโยชน์และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

พบว่าร่างกายจะมีมวลกระดูกสูงสุดเมื่ออายุ 25-30 ปี หลังจากอายุ 35 ปี มวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลง แต่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง ดังนั้นการเลือกรับประทานแคลเซียมเพื่อให้เกิดประโยชน์และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการ เช่น

รูปแบบของแคลเซียมที่รับประทาน

แคลเซียมที่อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละรูปแบบมีการดูดซึมและให้ปริมาณแคลเซียมที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอในแต่ละวันจึงควรเลือกแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีและให้ปริมาณแคลเซียมได้มาก

วิตามินที่ช่วยเพิ่มการดูดซึม

เพื่อให้การทานแคลเซียมเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จึงควรมีส่วนผสมของวิตามินที่ช่วยการดูดซึมแคลเซียม กระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก เช่น

วิตามินดี : วิตามินดีช่วยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียม แหล่งหลักของวิตามินดีที่สำคัญมาจากแสงแดด แต่จากข้อมูลพบว่าคนไทยโดยส่วนใหญ่ขาดวิตามินดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ จึงอาจมีความจำเป็นต้องรับประทานวิตามินดีเสริม

วิตามินเค : วิตามินเค ทำงานร่วมกันกับวิตามิน D ในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก และยับยั้งการสะสมของแคลเซียมที่หลอดเลือด และเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของหินปูน (Vascular calcification, soft tissue calcification)

แร่ธาตุเสริมความแข็งแรงของกระดูก

นอกจากแคลเซียม ยังมีแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน เช่น แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส เป็นต้น

Aquamin Calcium plus D3 แตกต่างจากแคลเซียมทั่วไปอย่างไร

อะควอมินแคลเซียม เป็นแคลเซียมธรรมชาติจากสาหร่ายสีแดง สายพันธุ์ Lithothamnion sp จากเกาะไอซ์แลนด์และฝั่งใต้ของไอร์แลนด์ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่ดีที่สุด เนื่องจากบริเวณที่เป็นทะเลที่สะอาด ปลอดมลภาวะ ต้องใช้เวลากว่า 5 ปี จึงจะได้สาหร่ายที่โตเต็มที่ อุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และแร่ธาตุกว่า 74 ชนิด เป็นแคลเซียมที่มีผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้รับการตีพิมพ์กว่า 20 ฉบับ

อะควอมินแคลเซียม ถูกดูดซึมในลำไส้ได้ดีเนื่องจากมีโครงสร้างที่เป็นรูพรุนคล้ายรังผึ้งทำให้มีพื้นที่ผิวที่มากกว่าแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนถึง 10 เท่า ดังนั้นน้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำให้เกิดการแตกตัวและดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมทั่วไป

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยยืนยันว่าอะควอมินแคลเซียมไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของหินปูนในหลอดเลือดเมื่อรับประทานไปมากกว่า 4 ปี มีคุณสมบัติช่วยลดการหลั่งพาราไทรอยด์ฮอร์โมน จึงช่วยลดการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ลดการอักเสบของข้อต่อจึงช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อกระดูกอักเสบลดปริมาณการรับประทานยาลดปวดอักเสบ (NSAIDs) ถึง 50% และไม่ก่อให้เกิดนิ่วในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ

นอกจากนี้ Aquamin calcium plus D3 ยังมีวิตามิน D3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียม มีวิตามิน K1 ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและช่วยยับยั้งการเกิดหินปูนที่หลอดเลือด มีแมกนีเซียม ซิงค์ และแร่ธาตุอื่นที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

Aquamin Calcium plus D3 เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกบาง กระดูกพรุน
  • สตรีวัยหมดประจำเดือน สตรีที่ขาดฮอร์โมน Estrogen ก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่น ต้องผ่าตัดรังไข่ 2 ข้างออก
  • ผู้สูงอายุ
  • คนที่มีโครงร่างเล็ก ออกกำลังกายน้อย มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่มีความเสียงต่อการเกิดการสูญเสียแคลเซียมจากกระแสเลือด เช่น ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือน้ำอัดลมเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอักเสบของกระดูกและข้อ
  • ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อการอุดตันของแคลเซียมในระบบหลอดเลือดหัวใจ

Reference

  1. Park JM., et al. Calcium Supplementation, Risk of Cardiovascular Diseases, and Mortality: A Real-World Study of the Korean National Health Insurance Service Data Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9230596/
  2. Johns Hopkins Medicine. Calcium Supplements May Damage the Heart Available from : https://www.hopkinsmedicine.org/news/media/releases/calcium_supplements_may_damage_the_heart
  3. สรุจ เล็กสุขศรี, อรนิภา วงศ์สีลโชติ. เสริม “แคลเซียม” อย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2565 จาก file:///C:/Users/Pharmacist%201/Downloads/20191005
  4. โรงพยาบาลกรุงเทพ. รู้จักแคลเซียมให้ดีกว่าเดิม สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/calcium
  5. Bamrungrad international hospital. หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2020/calcified-plaques-increase-risk-heart
  6. โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4. เคลียร์ชัดๆ กิน “แคลเซียม” ช่วย “เสริมกระดูก” ได้จริงหรือไม่ สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details