หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)


     โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)คือ โรคที่พบบ่อยในเด็ก ผู้ป่วยมักมีประวัติแพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือเยื่อบุตาอักเสบ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง มีสาเหตุบางส่วนมาจากพันธุกรรมหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ นอกจากพันธุกรรมแล้วปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สาคัญคือสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ไรฝุ่น สารก่อการระคายหรือสารก่อภูมิแพ้ผิวหนังของผู้ป่วยจะไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ภาวะอากาศร้อนเกินไป เย็นเกินไป แห้ง ชื้น สารเคมีที่ระคายผิวหนังและสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น แมลง เชื้อโรค เป็นต้น


ลักษณะอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง enlightened

 
     ผิวหนังโดยทั่วไปของผู้ป่วยจะค่อนข้างแห้ง อาการของโรคจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุของผู้ป่วย ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้


สาเหตุของภูมิแพ้ทางผิวหนัง yes


enlightened สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทาให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น


enlightened เชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทาให้เกิดการติดเชื่อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกาเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย


enlightened ฤดูกาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้นในฤดูหนาวเพราะความชื้นในอากาศต่า อากาศที่แห้งและเย็นจะทาให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและอักเสบมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทาให้เหงื่อออกมากทาให้ผู้ป่วยมีอาการคันและเกิดผื่นผิว หนังอักเสบมากขึ้นได้เช่นเดียวกับฤดูหนาว


enlightened เสื้อผ้า ไม่ควรใช้เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทาจากขนสัตว์เพราะจะทาให้เกิดการค้นเพิ่มมากขึ้น


enlightened สบู่ ผงซักฟอก ที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะละลายไขมัน ทาให้ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากขึ้นได้


enlightened อาหาร ผู้ป่วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 10 พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นกาเริบได้


การรักษาโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง yes


     สำหรับการรักษาภูมิแพ้โดยใช้ยาก็จะรักษาตามอาการและบริเวณที่เป็น โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หากเป็นเยอะทั่วตัว ทางแพทย์หรือเภสัชกรอาจให้ทานยาแก้แพ้และสามารถใช้ร่วมกับยาทาซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่

  1. 1. ยาทาสเตียรอยด์ (Topical corticosteroids) เช่นยี่ห้อ Dermovate, Betnovate, Elomet, Aristocort
  1. 2. ยาทาแก้แพ้ (Topical antihistamine) เช่นยี่ห้อ Fenistil, Systral พวกนี้จะไม่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม


อย่างไรก็ดีควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสาหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ enlightened


yes วิตามินซี (vitamin c) ช่วยกาจัดอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ (allergen) จากการศึกษาพบว่าเมื่อรับประทานวิตามินซีในขนาดที่สูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 mg ต่อวัน) จะสามารถลดความรุนแรงหรือจานวนครั้งในการเกิดภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี


yes สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยกาจัดอนุมูลอิสระซึ่งเกิดสารก่อภูมิแพ้ (allergen สามารถทานร่วมกับวิตามินซีเพื่อเสริมฤทธิ์ในการบรรเทาอาการของภูมิแพ้ได้ มีหลายชนิดเช่น grape seed, astaxantin, pycnogenol


yes เบต้ากลูแคน (betaglucan) มีคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage โดยกระตุ้นให้ Macrophage สามารถทาลายสิ่งแปลกปลอมหรือสารก่อภูมิแพ้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเริ่มรับประทานวันละ 200 mg


yes นมผึ้ง (Royal Jelly) เป็นสารอาหารสาหรับเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งนางพญา มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย วิตามิน A, C, D, E และวิตามินบีรวม และแร่ธาตุอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย ได้มีการศึกษาพบว่าสารสาคัญในนมผึ้งสามารถต้านเชื้อไวรัส, เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในลาคอ, หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) และผิวหนังอักเสบ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงและต่อต้านการติดเชื้อต่างๆ

     การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นสิ่งที่สาคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อการรักษาภูมิแพ้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ʕ·ᴥ·ʔ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคือง หากเลี่ยงไม่ได้ ควรระวังให้มีการสัมผัสน้อยที่สุดและทานยาแก้แพ้หากมีอาการ


ʕ·ᴥ·ʔ กาจัดสารก่อภูมิแพ้ในที่พักอาศัยหรือที่ทางาน


ʕ·ᴥ·ʔ ใช้ยาตามแพทย์หรือเภสัชกรสั่งอย่างเคร่งครัด


ʕ·ᴥ·ʔ ตรวจติดตามอาการของภูมิแพ้อย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินความรุนแรงและการปรับเปลี่ยนตัวยา


ʕ·ᴥ·ʔ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปใหเ้หมาะสมกับสภาพร่างกาย จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทางโรค ดังนี้


     ● การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยง ในกลุ่มสารอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เช่น ขนมปัง ไข่ ถั่ว นม อย่าลืมทานอาหารเสริมที่แนะนาไปด้วย


     ● พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง


     ● ออกกาลังกายเป็นประจา และสม่าเสมอและประเภทของการออกกาลังกายต้องไม่กระตุ้นให้เกิดอาการ ภูมิแพ้เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ และปั่นจักรยาน เป็นต้น


     ● ป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด อยู่ในสถานที่ที่อากาศ ถ่ายเทสะดวกและได้ร้บวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ

BACK