หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

กลูโคซามีน (Glucosamine)

 

     Glucosamine (กลูโคซามีน) คือสารที่มีอยู่ภายในร่างกายที่ช่วยส่งเสริมโครงสร้างของกระดูกอ่อน กลูโคซามีนที่มีประสิทธิผลสกัดได้จากเปลือกแข็งของสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หรือ ปู ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ กลูโคซามีน ในผู้ที่มีประวัติแพ้จากการรับประทานสัตว์น้ำเหล่านี้


     Glucosamine (กลูโคซามีน) กลูโคซามีนจะถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารโมเลกุลใหญ่เช่น ไกลโคสามิโนกลัยแคน (glycosaminoglycan) และ กรดไฮยาลูโรนิก(hyaluronic acid) ซึ่งทั้งสองตัวนี้เป็นส่วนประกอบในการสร้างกระดูกอ่อน จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า กลูโคซามีน จะไปยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสลายของกระดูกอ่อนจึงช่วยยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนได้นั่นเอง กลูโคซามีน เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช้าซึ่งเป็นเหตุผลที่ผลของการบรรเทาอาการปวดจะเริ่มให้ผลหลังจากบริโภคกลูโคซามีน เป็นประจําเป็นเวลาหลายสัปดาห์และอาจจะนานกว่านั้นในบางกรณี กลูโคซามีน จัดเป็นสารที่มีพิษต่ำจึงนับว่าปลอดภัย ต่อการใช้ระยะยาว

ประโยชน์ของกลูโคซามีน enlightened

     

คำแนะนำในการรับประทาน 


     สำหรับโรคข้อเสื่อม กินกลูโคซามีน 1500 mg ต่อวัน วันละครั้ง หรือแบ่งเป็น 500 mg กินวันละ 3 เวลา โดยอาจกินเดี่ยวๆ หรือ กินร่วมกับคอนโดรอิตินซัลเฟต (Chondroitin sulfate) 400 mg วันละ 2-3 ครั้ง

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ⚡


1. อาการแพ้จากการรับประทานสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก

  หากคุณมีอาการแพ้ต่อกลูโคซามีน หรือสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก ไม่ควรใช้ กลูโคซามีน


2. การใช้ในช่วงตั้งครรภ์และในระยะให้นมบุตร
  เนื่องจากไม่มีข้อมูลและผลการศึกษาอย่างเพียงพอว่า หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และให้นมบุตร จึงไม่แนะนำให้ใช้ ไบโอ-กลูโคซามีนในระยะดังกล่าว


3. อาการไม่พึงประสงค์จาก กลูโคซามีน(Glucosamine) คือ
  อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้ กลูโคซามีน(Glucosamine) คือ อาการคลื่นไส้ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก และ ท้องเสีย นอกจากนี้ ยังมีรายงานอาการปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย ผื่นแพ้ คันผิวหนังหรือหน้าแดงได้ด้วย ส่วนใหญ่อาการข้างเคียงเหล่านี้จะไม่รุนแรงและเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว

กลูโคซามีนซัล (glucosamine) กับโรคข้อเสื่อม (osteoarthristis)

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท้ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง นอกจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าจะเป็นประโยชน์

✿ กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) เป็นสารประกอบที่พบในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักรับประทานในขนาดวันละ 1500 มิลลิกรัม

✿ การศึกษาในหลอดทดลอง จากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลกระตุ้นการสังเคราะห์และยับยั้งการสลายตัวของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่กันการกระแทกระหว่างกระดูกข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างอ่อนๆด้วย

✿ การศึกษาทางคลินิก สำหรับการศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในมนุษย์) พบว่า ผลการรักษาคล้ายคลึงกับยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)แต่ผลเริ่มต้นจะช้ากว่า และการบรรเทาอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็วเหมือนการใช้ยา ผลการบรรเทาอาการมีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงมาก (รายงานการศึกษา 14 ใน15 ฉบับ) ข้อดีของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ในระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี

✿ อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือ มึนงง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ บวม อาการทางผิวหนัง หัวใจเต้นเร็ว

✿ ข้อควรระวัง คือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเล เนื่องจากกลูโคซามีนอาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้

คำเตือนของการใช้กลูโคซามีน ⚡

✿ ควรใช้กลูโคซามีนที่ผ่านการรรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น

✿ ห้ามใช้ยานี้ หากเคยมีประวัติแพ้กลูโคซามีน ไอโอดีน หรือสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู เป็นต้น

✿ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็ง มีคอเรสตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะเลือดออกง่าย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

✿ ผู้ที่กำลังใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กลูโคซามีน

✿ เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

✿ ผู้ที่กำลังใช้กลูโคซามีนต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าก่อนวางแผนผ่าตัดหรือรับการรักษาทางทันตกรรม

BACK