หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Cinnamon Extract (สารสกัดจากอบเชย)

     อบเชยมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณภาพที่แตกต่างกันออกไปตามสถานที่ปลูกหรือแหล่งผลิต อบเชยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติหรือสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ อบเชยเป็นเครื่องเทศที่เชื่อว่าอาจมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยสมานแผล ป้องกันอาการท้องร่วง ท้องอืด จุกเสียดแน่น ช่วยขับลม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร  มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ หรือลดระดับน้ำตาลในเลือดนอกจากนี้ อบเชยยังช่วยรักษาอาการอ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายสดชื่น มีสารที่ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เนื่องจากเปลือกของอบเชยประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins) สารอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย


     อบเชยมีรสชาติหวานและมีกลิ่นฉุน นิยมใช้อย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปลือกของอบเชยมักถูกนำมาบดเป็นผงประกอบอาหาร หรือใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สบู่ เครื่องสำอาง และยารักษาโรคของแพทย์แผนจีนโบราณ

 

สรรพคุณของสารสกัดจากอบเชย enlightened

 

   เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีรสเผ็ด หวานชุ่ม มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนออกฤทธิ์ต่อไต ม้าม และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยกระจายความเย็นในร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี (เปลือกต้นและเนื้อไม้)


   เปลือกต้นใช้ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย (เปลือกต้น)


   ช่วยบำรุงดวงจิต บำรุงธาตุ ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย (เปลือกต้น) ส่วนใบอบเชยต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ และบำรุงกำลัง (ใบอบเชยไทย)


   รากอบเชยเทศ มีสรรพคุณช่วยปลุกธาตุให้เจริญ แก้พิษร้อน ส่วนเปลือกต้นอบเชยเทศมีสรรพคุณปลุกธาตุอันดับให้เจริญ (เปลือกต้นอบเชยเทศ,รากอบเชยเทศ)


   อบเชยจีนมีรสเผ็ดอมหวาน มีฤทธิ์ร้อน ช่วยบำรุงธาตุไฟในระบบไต ตับ ม้าม และหัวใจ (เปลือกต้นอบเชยจีน)


   อบเชยสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ด้วยการใช้ผงอบเชยที่หาซื้อได้ทั่วไปที่เป็นแท่งนำมาบด โดยให้ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (เปลือกต้น)


   ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์รับประทานแก้เบื่ออาหาร (เปลือกต้น) เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ และช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้นอบเชยไทย)


   อบเชยมีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายมีความสามารถในการใช้อินซูลินเพื่อการสันดาปกลูโคสได้ดีขึ้น อบเชยสามารถลดการดื้ออินซูลินทำให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด สมุนไพรอบเชยจึงเหมาะสมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1,200 มิลลิกรัม โดยให้แบ่งการรับประทานออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้ผงอบเชยในปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับแคปซูลเบอร์ 1 แต่สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถกินได้วันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือประมาณวันละ 2 แคปซูล (เปลือกของกิ่ง)


   ตำรับยาแก้อาการไอหอบหืด ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)


   เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน (เปลือกต้น) ส่วนใบสามารถนำมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนได้เช่นกัน (ใบอบเชยไทย)

สารสกัดจากอบเชยกับโรคต่างๆsmiley


   ✿  เบาหวาน พบว่าอบเชยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการย่อยแป้งหลายชนิด ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วหลังกินอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารที่คล้ายอินซูลิน ซึ่งช่วยให้เซลล์นำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น งานวิจัยในคนเบื้องต้นพบว่าอบเชยอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

   ✿  ภูมิแพ้ พบว่าผู้ที่กินสารสกัดอบเชย ร่วมกับ ผลไม้สกัดอื่นๆจำพวกเชอร์รี่ ช่วยลดอาการภูมิแพ้ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาลได้

   ✿  ลำไส้แปรปรวน (IBS) พบว่าการกินอบเชย ร่วมกับ บิลเบอร์รี่ และสมุนไพรอื่นๆ เป็นเวลา 3 สัปดาห์  ช่วยลดอาการปวดท้อง จุกแน่น ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนได้

   ✿  ปวดท้อง จุกเสียด แน่นท้อง

   ✿  ท้องเสีย

   ✿  กระตุ้นความอยากอาหาร

   ✿  หวัด ไข้หวัดใหญ่

   ✿  ปวดท้องประจำเดือน

 

บุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการรับประทานสารสกัดจากอบเชยเป็นพิเศษ yes

   

 

ข้อห้ามในการใช้สารสกัดจากอบเชย !!


   ผู้ที่เป็นไข้ตัวร้อน ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด อุจจาระแข็งแห้ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานอบเชย และห้ามกินน้ำมันอบเชน เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและเป็นอันตรายต่อไตได้[3],[12]


   อบเชยจีนเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมาก ๆ หรือไม่ได้รับประทานตามคำแนะนำในฉลาดหรือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากอบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในในระยะยาวก็อาจมีปัญหาต่อตับได้

 

 

ประโยชน์ของต้นสารสกัดจากอบเชย enlightened

 

  1.    1. เปลือกต้นใช้เป็นเครื่องเทศ ยาขับลม แต่งกลิ่น บดให้เป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร ใส่ในเครื่องสำอาง น้ำมันจากเปลือกไม้ต้นใช้แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ลูกวาด ขนมหวาน เหล้า รวมไปถึงเภสัชภัณฑ์ สบู่ ยาเตรียมที่ใช้สำหรับช่องปาก ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาขับลม ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและกันบูด เป็นต้น ส่วนเปลือกอบเชยชวามักนำมาใช้ผสมเครื่องแกงมัสมั่น และแต่งกลิ่นข้าวหมกไก่

 

 

  1.    2. เปลือกต้นอบเชยเมื่อนำมาย่างไฟจะมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใส่ในแกงมัสมั่นและอาการประเภทต้มหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพื่อลดความคาว หรือจะลองหาผงอบเชยมาเหยาะลงในอาหารหรือเครื่องดื่มก็ได้ อย่างเช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ แซนด์วิช ก็ได้ แล้วแต่จะดัดแปลงสูตร

 

  1.    3. ใบอบเชยเทศมีน้ำมัน ใช้สำหรับแต่งกลิ่น แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง แต่งกลิ่นสบู่ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตน้ำหอม ใช้เป็นแหลงของสารยูจีนอลเพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นสารวานิลลิน ใช้เป็นส่วนผสมในยาทาถูนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อ

 

  1.    4. ชาวกะเหรี่ยงเชียงใหม่จะใช้เปลือกต้นอบเชยไทยนำมาตากให้แห้งแล้วนำไปเคี้ยวกินกับหมาก

 

  1.    5. ชาวม้งจะใช้เปลือกไม้ของอบเชยไทย นำไปตากแห้งแล้วตำให้เป็นผง นำไปทำธูป มีกลิ่นหอม

 

  1.    6. เนื้อไม้อบเชยไทยมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เนื้อไม้หยาบและค่อนข้างเหนียว สามารถนำมาใช้ในการแกะสลักทำหีบใส่ของเพื่อป้องกันแมลง ทำเครื่องเรือน หรือทำไม้บุผนังที่สวยงามได้

 

  1.    7. สำหรับเรื่องสิว อบเชยก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ด้วยการใช้ผงอบเชย 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำผึ้ง 3 ช้อนชา แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นนำมาป้ายลงบนหัวสิวก่อนเข้านอน แล้วค่อยล้างออกในตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น โดยให้ทำติดต่อกัน 2 สัปดาห์ สิวจะค่อย ๆ หมดไป (ข้อมูลจาก Woman plus)

 

 

คำแนะนำในการรับประทาน 

     สำหรับ เบาหวาน ใช้อบเชย 1-6 g /วัน โดยรับประทานกับอาหารมื้อที่มีคาร์โบไฮเดรตแม้อบเชยมีสารที่มีประโยชน์มากมาย อย่างไร ก็ควรรับประทานให้พอเหมาะ  อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ท้องเสีย อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม เป็นต้น

BACK