หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Choline โคลีน ดีต่อระบบร่างกายและสมอง

     โคลีนคืออะไรโคลีน (Choline) เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี พบได้ในอาหาร โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของฟอสฟา-ติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) หรือโคลีนอิสระ (free choline) หากโคลีนรวมตัวกับไขมันที่เรียกว่าฟอสโฟลิปิด (phospholipid) จะได้เป็นฟอสฟาติดิลโคลีน (PC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิทิน (Lecithin) ดังนั้นโคลีนจึงมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเลซิทิน

โคลีนมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร enlightened

โคลีนพบได้ในอาหารประเภทใด

     อาหารที่มีโคลีนมากพบได้ทั้งผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ สมอง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา  ถั่วเหลือง เป็นแหล่งของโคลีนที่ปราศจากโคเลสเตอรอลและมีไขมันต่ำ

โคลีนมีบทบาทต่อสุขภาพอย่างไร enlightened

  ความจำและการเรียนรู้ของสมอง

     โคลีนเป็นสารที่ใช้ในการสร้างอะเซททิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญของระบบประสาท เชื่อว่าการมีอะเซททิลโคลีนที่เพียงพอในสมองจะช่วยป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้การศึกษาในผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์) ระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (cholinesterase inhibitors) ก็ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำด้วย


  การทำงานของตับ

     ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถเคลื่อนย้ายไขมันออกได้ ผลคือเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้


  ลดโคเลสเตอรอล และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

     โคลีนจะช่วยเพิ่มระดับของ HDL (ไขมันดี) และ ลดระดับของ LDL (ไขมันเลว) และโคเลสเตอรอลรวม จึงมีผลป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis and Cardiovascular disease)

 

ควรรับประทานโคลีนเท่าไรถึงจะเหมาะสม enlightened

   ปริมาณโคลีนที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake ; DRI) มีดังนี้
✿  ชาย 550 มก. / วัน 
✿  หญิง 425 มก. / วัน 
✿  หญิงตั้งครรภ์ 450 มก. / วัน
✿  หญิงให้นมบุตร 550 มก. / วัน 
✿  ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้คือไม่เกิน 3.5 กรัม / วัน

     ปัจจุบันนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็ได้มีการเติมโคลีน เช่นเดียวกับสารอาหารชนิดอื่นคือ EPA, DHA และ เลซิทิน เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก 

 

ผลข้างเคียงของโคลีนมีอะไรบ้าง ?

   ในผู้ใหญ่ ไม่ควรรับประทานโคลีนเกินวันละ 3.5 กรัม ขนาดที่สูงกว่านี้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง คือ เหงื่อออกมาก ซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ มีกลิ่นตัว

 

ประโยชน์ของโคลีน

  1. ช่วยลดการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลได้
  2. ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกสดชื่นมากกว่าเดิม
  3. ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ค้างในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ
  4. ช่วยในกระบวนการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำงานที่ด้านความจำ
  5. ช่วยต่อสู้กับปัญหาความจำเสื่อมในวัยสูงอายุ (ด้วยขนาด 1,000 - 5,000 มิลลิกรัม ต่อวัน)
  6. ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ 
  7. ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  8. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

คำแนะนำในการรับประทานโคลีน enlightened

✿ โคลีนมักพบในรูปแบบของวิตามินบีรวม โดยจะมีโคลีนและอิโนซิทอลอยู่ประมาณ 50 มิลลิกรัม หรือพบได้ในรูปของเลซิทินแบบแคปซูลซึ่งทำมาจากถั่วเหลือง โดยมีโคลีนและอิโนซิทอลอยู่อย่างละประมาณ 244 มิลลิกรัม และอาจมีวางจำหน่ายในรูปของฟอสฟาทิดิลโคลีนหรือฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล

✿ ในปัจจุบันยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่มีการประมาณว่าในวัยผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ประมาณ 500 - 900 มิลลิกรัมต่อวัน

✿ แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานโดยทั่วไปต่อวันคือประมาณ 500 - 1,000 มิลลิกรัม

✿ คุณควรรับประทานโคลีนที่อยู่ในรูปของวิตามินบีรวม

✿ การรับประทานโคลีนอาจช่วยลดภาวะอาการตื่นตระหนกตกใจบ่อย ๆ ได้

✿ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านความทรงจำ คุณควรรับประทานโคลีนให้มากขึ้น

✿ การรับประทานเลซิทินเสริม อาจจะต้องรับประทานแคลเซียมเสริมด้วยเพื่อให้ระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายสมดุลกัน เนื่องจากโคลีนเพิ่มการดูดซึมของฟอสฟอรัส

✿ สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำควรจะรับประทานโคลีนเสริม เพื่อช่วยลดการทำงานหนักของตับ

แหล่งที่พบและแหล่งที่มา

     ในอดีตโคลีนถูกจัดเป็นสารที่ไม่จำเป็นสำหรับร่างกายเนื่องจากร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์โคลีนได้ แต่ในระยะหลังมีข้อมูลจากงานวิจัยบ่งชี้ว่าร่างกายสามารถสังเคราะห์โคลีนได้ในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงต้องได้รับจากอาหารด้วย ซึ่งแหล่งอาหารที่มีโคลีนอยู่จะมีทั้งอาหารที่ได้จากพืชและสัตว์ โดยอยู่ในรูปของโคลีนและเลซิติน โดยแหล่งอาหารที่มีโคลีนและเลซิตินมาก ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโอ๊ต จมูกข้าว ถั่งเมล็ดแห้ง เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ กะหล่ำดอก กะหล่ำปี นอกจากนี้ยังพบในอาหารแปรรูปต่างๆ เช่น นมผงที่มีการเติมโคลีนเข้าไป ไอศกรีม และเค้ก เป็นต้น

BACK