หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Fish oil-Omega 3 น้ำมันปลา

    Fish oil-Omega 3 น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อ หนัง หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก EPA (Eicosapentaenoic acid) และกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น สำหรับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเลือด พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

 

ประโยชน์ของน้ำมันปลา 


 ลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ดี น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยมาก ผู้ชายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เมื่อให้กินปลาประมาณ 18 ออนซ์ต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงและระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น


 ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น


 ลดความดันโลหิต จากรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารที่ประกอบด้วยปลาหางแข็งหรือปลาทูซึ่งมี EPA ในปริมาณ 2.2 กรัมต่อวันสามารถลดความดันเลือดซิสโตลิกในคนไข้ที่มีโรคความดันผิดปกติทาง กรรมพันธุ์ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และทำให้เกิดโรคหัวใจในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ อาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทู ยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นระดับกลับสูงขึ้นไปเหมือนเดิมอีก ในผู้ที่มีความดันเลือดสูงในระดับปานกลาง พบว่าอาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทูลดความดันซิสโตลิกลงได้เกือบร้อยละ 10 ระดับโซเดียมในเลือดลดลง และเรนินซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สร้างในไตซึ่งมีผลมากต่อความดันเลือดนั้น ก็ทำงานได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 การศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเล็กน้อย โดยให้กินน้ำมันปลาแคปซูลเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าความดันตัวบนหรือซิสโตลิกลดลงอย่างชัดเจน


บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์


 บำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น


 ลดการอักเสบของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง

ความสำคัญของน้ำมันปลา enlightened

กลไกการออกฤทธิ์ ของกรดไขมันโอเมก้า yes

  1. ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory effects)    กรดไขมันโอเมก้า-3 จะเข้าไปแทนที arachidonic acid ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดการสร้าง PG3(prostaglandin series3) , thromboxane A3, และ series5 leukotrienes มากกว่า เพื่อทดแทน PG2(prostaglandin series2) thromboxane A2 และ series4 leukotrienes  โดยที่ thromboxane A3 ที่ผลิตจาก EPA มีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดที่น้อยกว่า thromboxane A2 ซึ่งผลิตจาก arachidonic acid และ PG3(prostaglandin series3) มีผลต่อการอักเสบน้อยกว่าPG2(prostaglandin series2)   ส่วน series5 leukotrienesที่ผลิตจาก EPA มีผลต่อการอักเสบน้อยกว่า series4 leukotrienes  นอกจากนี้ DHA  ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยการยังยั้งการสร้าง PG2(prostaglandin series2)
  2. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน(Prevention of thrombosis)     กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังยั้งการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน โดยการ ยังยั้งการสร้าง thromboxane A2 จาก arachidonic acid จากเกร็ดเลือดที่เป็นตัวการให้เกิดการเกาะกันของเกล็ดเลือด และ ทำให้หลอดเลือดหดตัว(vasoconstriction)  นอกจากนี้น้ำมันปลายังเพิ่มการสร้าง prostacyclin ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว(vasodilation)  
  3. ลดการสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride-lowering effects)  กรดไขมันโอเมก้า-3ในน้ำมันปลา ลดการสร้างและการหลั่งของ VLDL ส่งผลให้ลดการสร้าง triacylglycerol  โดยผ่านทางการลดการทำงานของ sterol receptor element-binding protein-1c ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการสังเคระห์ไขมัน (lipogenesis)  นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ว่า กรดไขมันโอเมก้า-3ในน้ำมันปลา ช่วยเพิ่ม บีต้า-ออกซิเดชัน ภายในไมโตคอนเดรีย และ/หรือ peroxisomes  โดยการกระตุ้น peroxisome PPAR-alpha ส่งผลให้ลดกรดไขมันที่เป็นสารตั้งต้นของการสังเคระห์ไตรกลีเซอร์ไรด์  จากกลไกลเหล่านี้จึงทำให้ลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์  ในร่างกาย

 

BACK