หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Lycopene (ไลโคพีน)

     ไลโคพีน (Lycopene) เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด พบไลโคพีนได้ใน มะเขือเทศ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้นพบไลโคพีนในปริมาณตั้งแต่ 0.9 –9.30 กรัม ใน 100 กรัมของมะเขือเทศสด ไลโคพีนเป็นสารประกอบที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจนที่สุด คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รองลงมา คือมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการได้รับไลโคพีนในการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ (colon) ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก เต้านม ปากเป็นต้น


ควรรับประทานมะเขือเทศสดหรือมะเขือเทศที่ผ่านการปรุงอาหารแล้ว yes


     ความเชื่อที่ว่าของสดดีกว่าของที่ปรุงแล้ว ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ในกรณีของมะเขือเทศเป็นหนึ่งในข้อยกเว้น มะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคพีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคพีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า นอกจากนี้ความร้อนและกระบวนการต่างๆในการผลิตผลิตภัณฑ์มะเขือเทศยังทำให้ไลโคพีนเปลี่ยนรูปแบบ (จากไลโคพีนชนิด “ออลทรานส์”(all-trans-isomers)เป็นชนิด “ซิส”(cis -isomers) คือ เป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น


มะเขือเทศสดและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ชนิดใดให้ไลโคพีนสูงกว่ากัน
 

     โดยทั่วไป ปริมาณไลโคพีนในผลไม้และมะเขือเทศสดจะไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อนำมะเขือเทศสดไปผ่านกระบวนการผลิตให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศชนิดต่างๆ พบว่าปริมาณไลโคพีนสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้นขึ้น ดังนั้น อาหารอิตาเลียน พวกพิซซ่า สปาเก็ตตี้ ที่มีการแต่งรสด้วยซอส หรือผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น (Tomato paste) ที่ผลิตจากมะเขือเทศ จึงเป็นแหล่งให้ไลโคพีนที่ดี ดังในตาราง


 

มะเขือเทศกับสารไลโคพีน heart


     จากการวิจัยพบว่าในมะเขือเทศจะอุดมไปด้วยสาร ไลโคพีน เป็นจำนวนมาก และไลโคพีนจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อมีการปรุงมะเขือเทศด้วยความร้อน เพราะจะทำให้เกิดชีวประสิทธิผลที่ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณของไลโคพีนให้สูงขึ้นไปอีก นั่นก็เพราะเมื่อไลโคพีนสัมผัสกับความร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีแบบทรานส์ ทำให้ไลโคพีนกลายเป็นพันธุแบบซิสที่เป็นเส้นโค้งงอ โดยจะสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่า จึงทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าด้วยนั่นเองซึ่งจากกรณีของมะเขือเทศจะเห็นได้ว่า ผักผลไม้ทุกชนิดไม่ได้มีประโยชน์มากที่สุดเมื่อทานสดๆ เท่านั้น โดยเฉพาะมะเขือเทศที่จะยิ่งมีคุณค่าสูงขึ้นเมื่อได้ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนั่นเอง เพราะฉะนั้นมาทานมะเขือเทศที่ปรุงด้วยความร้อนกันบ่อยๆ



ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ

ปริมาณไลโคพีน (มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม)

    ดังนั้นแล้วการสกัดมาในรูปแบบที่เป็นเม็ดพร้อมทาน กินสะดวกและจำเป็นต่อผู้คนในยุคปัจจุบัน และเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอีกด้วย


Lycopene (ไลโคพีน) มีหน้าที่อย่างไร enlightened


     ไลโคพีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสารชนิดอื่นๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ซึ่งรวมถึงเบต้าแคโรทีน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมีประสิทธิภาพในการรักษาความแข็งแรงความหนาและความลื่นไหลของเยื่อหุ้มเซลล์ มีหน้าที่คัดกรองสิ่งที่เข้าและออกจากเซลล์ช่วยให้สารอาหารที่ดีเข้า กำจัดขยะในเซลล์และป้องกันไม่ให้สารพิษเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ที่แข็งแรงมีความสำคัญในการป้องกันโรคต่างๆ


ประโยชน์ของไลโคปพีนต่อสุขภาพ ⚡


เพื่อช่วยป้องกันมะเร็งหลายรูปแบบตลอดจนการป้องกันและรักษาความเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ เช่น

⚈ ไลโคพีนช่วยต้านอนุมูลอิสระลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ

⚈ ช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ผลจากการทดสอบพบว่าไลโคพีนสามารถเพิ่มความเข้มข้นของอสุจิในผู้ชายได้

⚈ ไลโคพีนช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

⚈ การเสริมด้วยไลโคพีนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดพารามิเตอร์หรือความเครียดภายในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน 30 วัน สามารถเพิ่มพลาสมาเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์

⚈ ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

⚈ ป้องกันการเสื่อมสภาพของอายุและต้อกระจก

⚈ ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์

⚈ ทำหน้าที่เป็นครีมกันแดดภายในและปกป้องผิวของคุณจากการถูกแดดเผา

แหล่งอาหารของไลโคพีน yes


     ไลโคพีน พบในผักผลไม้หลายชนิดที่มีสีแดง สีชมพู อาหารที่มีไลโคพีนสูงและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาให้ใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในรูปแบบที่เข้มข้นและแยกได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร


ไลโคปพีนหาจากไหนได้บ้าง ?

  1. หลายคนอาจทราบดีไลโคพีนพบได้ในมะเขือเทศ โดยในมะเขือเทศสดปริมาณ 100 กรัมอาจมีไลโคพีน 3 มิลลิกรัม ส่วนมะเขือเทศอบแห้งในปริมาณเดียวกันอาจมีสารชนิดนี้ถึง 46 มิลลิกรัม สาเหตุที่มะเขือเทศอบแห้งนั้นมีปริมาณสูงกว่าก็เพราะว่าไลโคพีนจะถูกย่อยและดูดซึมได้ง่ายขึ้นเมื่อผ่านความร้อน โดยเฉพาะการปรุงที่ใช้น้ำมัน ซึ่งซอสมะเขือเทศและน้ำมะเขือเทศก็มีสารนี้ในปริมาณที่สูงกว่ามะเขือเทศสดเช่นกัน นอกจากมะเขือเทศแล้ว ยังอาจพบสารต้านอนมูลอิสระชนิดนี้ได้จากผลไม้ อย่างแตงโม ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ แต่อาจพบในปริมาณน้อยกว่ามะเขือเทศที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว
  2. ส่วนความปลอดภัยในการรับประทานไลโคพีน ส่วนใหญ่แล้วหากไม่มีอาการแพ้อาหารเหล่านั้น สารที่ได้รับจากอาหารมักไม่มีความเสี่ยงต่อโรคหรือความผิดปกติใด ๆ ซึ่งมีการศึกษาหนึ่งแนะนำว่าเราควรได้รับไลโคพีน 9-21 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากบริโภคอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนในแต่ละวันก็อาจช่วยให้ได้รับไลโคพีนอย่างเพียงพอแล้ว สำหรับการใช้ไลโคพีนในรูปแบบอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ถึงความจำเป็น ปริมาณ และวิธีในการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และผู้ที่มีโรคประจำตัว

BACK