หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

L carnitine (แอล-คาร์นิทีน)

     หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของแอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) และมักเข้าใจว่าช่วยในการลดน้ำหนัก ทั้งที่ประโยชน์ของแอล-คาร์นิทีนที่มีผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์คือ ช่วยลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และลดความเหนื่อยล้า ดังนั้นการทำความเข้าใจว่าแอล-คาร์นิทีนคืออะไรและมีประโยชน์กับร่างกายอย่างไรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสม


รู้จัก L-CarnitineL (แอล-คาร์นิทีน)


     แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นสารที่ร่างกายสามารถสร้างได้เองที่ตับและไตจากกรดอะมิโน 2 ตัวที่มีชื่อว่า Lysine และ  Methionine ซึ่งร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการดึงไขมันเข้าไปสร้างเป็นพลังงาน แอล-คาร์นิทีนจึงมีบทบาทสำคัญต่อขบวนการสลายกรดไขมันในร่างกาย และร่างกายยังได้รับแอล-คาร์นิทีนจากการรับประทานอาหารจำพวกกลุ่มเนื้อแดง ถั่ว อะโวคาโดได้ด้วย งานวิจัยของ The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness ได้ศึกษาประสิทธิภาพของแอล-คาร์นิทีนในผู้หญิงน้ำหนักมาก โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบกัน 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ยาหลอก กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานแอล-คาร์นิทีน กลุ่มที่ 3 ออกกำลังกายและทานยาหลอก กลุ่มที่ 4 ให้ออกกำลังกายร่วมกับรับประทานแอล-คาร์นิทีน และติดตามผลที่ 8 สัปดาห์พบว่า ในกลุ่มที่มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและทานแอลคาร์นิทีนวันละ 2 กรัม สามารถลดการอักเสบในร่างกาย (hs-CRP) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีการศึกษาให้รับประทานวันละ 2 กรัม ในกลุ่มคนสูงอายุและติดตามผลพบว่า ปริมาณของกล้ามเนื้อมากขึ้นและไขมันลดลง และยังลดความอ่อนล้าของร่างกายลง

     แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) นับเป็นสารที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยมากและให้ประสิทธิภาพสูง หากใช้ควบคู่กับการออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 40 – 50 นาทีขึ้นไปจึงจะช่วยสลายไขมันได้ โดยในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีนเสริมสำหรับการเล่นกีฬาเพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ควรจะต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 สัปดาห์และไม่ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

แอล-คาร์นิทีนได้รับความสนใจในวงกว้าง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ enlightened

     แม้แอล-คาร์นิทีนจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากรับประทานมากเกินไปก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน มีงานวิจัยระบุว่า การรับประทานแอล-คาร์นิทีนมากถึง 5 กรัม หรือ 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือมากกว่าอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัว มีผื่นแดง เป็นต้น


     ดังนั้นสิ่งที่ควรตระหนักไว้เสมอ คือ การลดน้ำหนัก คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง แอล-คาร์นิทีนเป็นสารที่ช่วยทำให้ร่างกายสามารถดึงไขมันไปสร้างเป็นพลังงาน ซึ่งร่างกายสร้างได้เองและได้รับจากการรับประทานอาหารดังที่กล่าวไปตอนต้น ดังนั้นแล้วเราไม่สามารถทราบปริมาณแน่นอนของแอล-คาร์นิทีนที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน การปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนรับประทานแอล-คาร์นิทีนย่อมช่วยให้สามารถรับประทานได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับร่างกายอย่างแท้จริง

ทำไมร่างกายถึงขาดแอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ⚡ 


     การขาดแอลคาร์นิทีนเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี เช่น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อยอาหารหรือการดูดซึม หรือในกรณีผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ (Vegan Diet) เนื่องจากแอลคาร์นิทีนพบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ( Meat and Animal Product)โดยจะพบในอาหารประเภทพืช (Plant Based)บางประเภทเท่านั้น ได้แก่ ถั่ว งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดธัญพืช ขนมปังโฮลวีท แต่มีปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณในเนื้อสัตว์

รูปแบบของแอล-คาร์นิทีน 

  1. 1. D-Carnitine เป็นแอล-คาร์นิทีนรูปแบบทีไม่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย หรือรูปแบบที่ไม่พร้อมใช้งาน (Inactive form)
  1. 2. Acetyl L-Carnitine ที่มีประโยชน์ในการบำรุงสมองและช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น โรคเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Disease) และ อัลไซเมอร์
  1. 3. Propionyl L-Carnitine ช่วยเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต (Blood Circulation) และสามารถเพิ่มกรดไนตริกออกไซด์ได้ และใช้ได้ผลในกลุ่มโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขา (Peripheral Vascular Disease)
  1. 4. L-Carnitine, L-Tartate ดูดซึมได้รวดเร็ว นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักกีฬา ช่วยเรื่องอาการปวดกล้ามเนื้อ muscle soreness และ การ recover หลังออกกำลังกาย

ข้อระวังของผลข้างเคียง ⚡ 


     ปกติแล้วแอลคาร์นิทีนเป็นสารที่มีความปลอดภัย และมีปฏิกิริยาข้างเคียงจากการรับประทานน้อยมากแต่อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าการทาน แอลคาร์นิทีนมากเกินไป โดยปริมาณตั้งแต่ 5000 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือมากกว่าอาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน และวิงเวียนศรีษะ อาการข้างเคียงอื่นๆที่อาจะพบได้เช่น ผื่นแดง มีกลิ่นตัว เพิ่มความอยากอาหาร เนื่องจากแอลคาร์นิทีนเป็นสารที่พบอยู่ในอาหารประจำวันอยู่บ้างแล้วการรับประทานเพิ่มอาจต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

BACK