หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

 โคเอนไซม์คิวเท็น 

 

     โคเอนไซม์คิวเท็น (CoenzymeQ10) หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า โคคิวเท็น (CoQ10) นั้น เป็นที่รู้จักกัน ในชื่ออื่นอีกหลายชื่อ เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) จัดเป็นสารจำพวก วิตามินหรือคล้ายวิตามิน ซึ่งมีในทุกเซลล์ของร่างกาย CoQ10 ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1957 คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินซึ่งร่างกายสามารถผลิตเองได้ในปริมาณหนึ่ง มีฤทธิ์ช่วยขนส่งอิเล็กตรอนและช่วยในกระบวนการผลิตพลังงานของเซลล์ในร่างกาย และกระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสารชนิดนี้มักพบได้มากในอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ ไต ตับ และตับอ่อน

โคเอนไซม์คิวเท็นสำคัญ อย่างไร

     CoQ10 ไม่ได้ให้พลังงานโดยตรงแก่ร่างกาย แต่เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็น ในการจุดเริ่มปฏิกิริยาเคมี
เพื่อสร้างพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้อง
ทำงานตลอดเวลา ไม่ว่ายามตื่นหรือหลับ จากการศึกษากว่า 25 ปีในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ทำการศึกษาล้วนมีภาวะขาด CoQ10 ที่รุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับ CoQ10 ปริมาณเพียงพอ ก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างได้ผล ประมาณ 95% ของปฏิกิริยาพลังงานในร่างกาย ล้วนเกิดจากบทบาทของ CoQ10 จากกลไกบทบาทในกล้ามเนื้อเรียบ ยังใช้ช่วยอธิบายในกรณีหายใจลำบาก หายใจแล้วเหนื่อย ว่าอาจมีภาวะขาด CoQ10 ร่วมด้วย       

     คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ของ CoQ10 ทำให้วงการแพทย์นำ CoQ10 มาใช้ในการร่วมรักษาโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจาก ระดับสารต้านอนุมูลอิสระ ในร่างกายลดลง CoQ10 ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ CoQ10 ยังถูกจัดให้เป็น potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกด้วย

บทบาทสำคัญของ CoQ10 มี 2 กลุ่ม

1. โคเอนไซม์คิวเท็นกับสุขภาพของหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลวและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของมนุษย์ เกิดจากการสะสมของไขมันโดยตรงบนผนังหลอดเลือด หรือภาวะหลอดเลือดแข็งตัวโคเอนไซม์คิวเท็นมีบทบาทสำคัญมากในการลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยจำกัดปริมาณของไขมันที่จะไปสะสมบนผนังหลอดเลือด นักวิจัยบางท่านเชื่อว่า การเสริมวิตามินอี (Vitamin E) ร่วมกับ โคเอนไซม์คิวเท็น ให้ผลในการลดความเสี่ยงและเพิ่มการป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันได้มากกว่า  การได้รับเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า โคเอนไซม์คิวเท็นสามารถช่วยและลดการสะสมของโคเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มเอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ได้ด้วย

ผู้ที่มีอาการปวดเค้นหน้าอก (Angina) การเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคเอนไซม์คิวเท็น สามารถลดอาการปวดเค้นหน้าอกลงได้ และยังมีความสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นด้วย

2. โคเอนไซม์คิวเท็นกับการต้านอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ร่างกายผลิตอนุมูลอิสระขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ กระบวนการอักเสบภายในร่างกาย การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งแวดล้อม ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในร่างกาย แหล่งของอนุมูลอิสระ ได้แก่ มลภาวะ การออกกำลังกาย แสงแดด การสูบบุหรี่ ยาปราบศัตรูพืช รังสีเอ็กซ์ (x-ray) และอาหารทอด เป็นต้น

ผิวหนังของคนเรามีสารต้านออกซิเดชันอยู่จำนวนมาก ได้แก่ วิตามินอี  โคเอนไซม์คิวเท็น  เป็นต้น แสงแดดมีผลให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระลดลง การมีอายุเพิ่มขึ้นพบว่ามีการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นลดลงเช่นกัน จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอยเมื่อมีอายุมากขึ้น โคเอนไซม์คิวเท็นมีบทบาทสำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาในร่างกายและจากสภาวะภายนอก จึงป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงปกป้องการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ได้ด้วย

ประโยชน์ของโคเอนไซม์คิวเท็นในการรักษา

yes  โรคหัวใจ จากผลการทดลอง ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยจัดให้ผู้ป่วยได้รับ CoQ10
เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าระดับพลาสม่า CoQ10 สูงขึ้นถึง 3 เท่า ดัชนีวัดค่าความหนาผนังกล้ามเนื้อหัวใจสูงขึ้นตามลำดับ

yes  โรคความดันโลหิตสูง ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดย Dr.Langsjoen ผู้ป่วยร้อยละ 51
มีอาการดีขึ้น มี Dias tolic pump มากขึ้น จนหยุดยาลดความดันโลหิตได้ ภายใน 4 เดือนหลังการ
ใช้ CoQ10 ช่วยปกป้องปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตีบแข็งของหลอดเลือด ภาวะที่หลอดเลือดตีบแข็ง = ไม่ยืดหยุ่น ย่อมเป็นปัจจัยก่อความดันเลือดเพิ่มนั่นเอง

yes  โรคทาลัสซีเมีย สำหรับผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย ผลการทดลองของคณะแพทย์ศิริราช พบว่าการได้รับ
CoQ10 เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือนติดต่อกัน จะช่วยลด oxidative stress ทำให้การต้านอนุมูลอิสระ ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

yes  เหงือกอักเสบ  ก็มีรายงานถึงผลตอบรับที่ดีต่อ CoQ10

yes  ผลข้างเคียงจากยาลดไขมัน (statin)  นอกเหนือไปจากบทบาทในการรักษาโรคหัวใจแล้ว CoQ10
ยังจำเป็นต่อผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับ โคเลสตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุดยั้ง
กระบวนการสร้าง CoQ10 ก่อเกิดภาวะขาด CoQ10 รุนแรง

yes  โรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม  เซลล์สมองก็มากด้วยไมโตคอนเดรีย เพราะต้องการพลังงานมาก
เช่นเดียวกับหัวใจและตับ ที่ใดมากไมโตคอนเดรียก็จำเป็นต้องมี CoQ10 ร่วม จุดประกายปริมาณมาก
อีกทั้ง CoQ10 ยังเป็นตัวคอยต้านอนุมูลอิสระรอบๆ ผนังเซลล์ มิให้เข้าไปทำลาย DNA แน่นอนว่าหากขาด CoQ10 ไมโตคอนเดรียสูญเสียผู้ร่วมก่อสร้างพลังงาน สมองก็ทั้งล้า และเสียหาย มากๆ การศึกษาพบว่า CoQ10 สามารถชะลอการเสื่อม ของเซลล์สมอง ที่เกิดจาก oxidative stress ได้

yes  เป็น Cellular burn ในการลดความอ้วนและต้านอนุมูลอิสระ

yes  เป็น Antox ช่วยให้ผิวสดใส ชลอชรา

ผู้ที่ควรได้รับ โคเอนไซม์คิวเท็น

ขนาดและวิธีใช้

BACK