หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

วิตามิน บี6


     วิตามินบี6 หรือ ไพริด็อกซิน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกันของกลุ่มสารที่มีโครงสร้างคล้ายกันและทำงานร่วมกัน ซึ่งประกอบไปด้วยไพริด็อกซิน ไพริด็อกซาล และไพริด็อกซามีน ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ โดยจะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน และมีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม

     แบคทีเรียในลำไส้บางชนิดสามารถสังเคราะห์วิตามินบี6 เองได้ โดยเฉพาะหากมีการรับประทานร่วมกับเซลลูโลสเสริม และวิตามินบี6 มีความจำเป็นต่อการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแมกนีเซียม ร่างกายมีความจำเป็นต้องใช้วิตามินบี6 ในการสร้างแอนติบอดีและเม็ดเลือดแดง

      วิตามินบี6 สามารถพบได้ทั้งในผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ซึ่งในผักผลไม้จะพบในรูปของไพริดอกซีน และในเนื้อสัตว์จะพบในรูปของไพริดอกซานและไพรริดอกซามีน โดยอาหารที่พบวิตามินบี6 ได้มากที่สุด ได้แก่ปลา ไข่ไก่ ตับสัตว์ ข้าวไม่ขัดสี นม เนื้อปลา ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ผลวอลนัท รำข้าว ยีสต์ แคนตาลูป กากน้ำตาล กะหล่ำปลี เป็นต้น นอกจากนี้แบคทีเรียที่ลำไส้ก็สามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ออกมาได้เองอีกด้วย แต่มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงต้องเสริมวิตามินบี6 จากอาหารอื่นๆ


แหล่งที่พบวิตามินบี6 ตามธรรมชาติ ได้แก่

     บริเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง วอลนัต กะหล่ำปลี กากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา เป็นต้น (นมเป็นแหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 6 ค่อนข้างต่ำ)

หน้าที่สำคัญของวิตามินบี6 
    เป็นโคเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาของการเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและกรดไขมันในร่างกาย รวมทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ ไพริดอกซาลฟอสเฟต ( Pyridoxal Phosphate, PLP ) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้

  1. ช่วยสร้างเซโรโทนิน Serotonin โดยเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวดีขึ้น และช่วยควบคุมการทานของสมองและเนื้อเยื่อให้ทำงานเป็นปกติมากขึ้นทำหน้าที่ในการสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดแอสพาร์ทิก และกรดลูทามิก
  2. ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนทริปโทเฟนหรือกรดอะมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
  3. ช่วยสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนฟอร์ไฟริน Porphyrin Ring โดยเป็นสารที่มีความสำคัญในการสร้างเฮโมโกลบิน
  4. ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ
  5. ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
  6. ทำหน้าที่สังเคราะห์สารที่มีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิกให้เป็นกรดอะราซิโดนิก
  7. ช่วยในการสลายไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส

 

ประโยชน์ของวิตามินบี6


yes ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ

yes ช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดียิ่งขึ้น

yes ป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะวิตามินนี้ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น

yes ป้องกันโรคทางระบบประสาทและโรคผิวหนัง

yes ช่วยชะลอวัยและกระบวนการชราของร่างกาย

yes ลดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในเวลากลางคืน ลดอาการตะคริว

yes ป้องกันการเกิดนิ่วในไต

yes ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

ผลของการขาดวิตามินบี6

    ปกติแล้วเรามักจะไม่ค่อยพบคนที่ขาดวิตามินบี6 สักเท่าไหร่ เพราะอาหารส่วนใหญ่มักจะมีวิตามินบี6 ในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว การขาดวิตามินบี6 จึงมักจะพบในบุคคลที่

  มีความผิดปกติในการดูดซึม จึงทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี6 ได้น้อยกว่าปกติ

  การได้รับยาบางชนิด ที่มีฤทธิ์ตรงกันข้ามกับวิตามินบี6 จึงทำให้ได้รับวิตามินบี6 น้อยมาก

  ในเด็กที่กินอาหารสำเร็จรูปที่มีวิตามินบี6 น้อยมาก หรือกินนมที่ถูกความร้อนนานเกินไปจนทำให้วิตามินบี6 สลายไปนั่นเอง 

  ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เพราะยาคุมมีฤทธิ์ที่จะทำให้ร่างกายต้องการวิตามินบี6 มากกว่าคนปกติ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี6 ได้ถึงแม้ว่าจะกินอาหารตามปกติก็ตาม

สำหรับอาการขาดวิตามินบี6 ที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ ในปัสสาวะจะพบกรดแซนทูรินิกมากกว่าปกติ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนบ่อยๆ และอาจเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย นอกจากนี้ในบางคนก็อาจมีริมฝีปากแห้งแตก ปากอักเสบ ซึมเศร้า สับสน มีอาการทางประสาท และอาจมีอาการโลหิตจางได้

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินบี6
     วิตามินบี6 ในรูปแบบของอาหารเสริมมีขนาดตั้งแต่ 50-500 มิลลิกรัม ทั้งในรูปแบบแยกเดี่ยว แบบเป็นวิตามินรวม และในรูปของวิตามินบีรวม ควรหาซื้อที่เป็นสูตรแตกตัวช้า ซึ่งจะค่อย ๆ แตกตัวโดยใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมง โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.6 - 2 มิลลิกรัมสำหรับผู้ใหญ่, 2.2 มิลลิกรัมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และ 2.1 มิลลิกรัมสำหรับหญิงผู้ให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและกำลังรักษาด้วยตัวยาคูพริมิน ควรรับประทานวิตามิน บี6 เสริม วิตามินบี6 อาจลดความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และหากไม่ปรับขนาดยาอาจส่งผลให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด

     อาจเกิดอาการกระสับกระส่ายในเวลานอน ฝันเหมือนจริงเกินไป เท้าชาและมีอาการกระตุก สำหรับผู้ที่รับประทานขนาด 2,000 - 10,000 มิลลิกรัมทุกวัน อาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทได้ ขอแนะนำว่าควรรับประทานขนาดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อวันจะปลอดภัยกว่า


ข้อควรระวัง


 

BACK