หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Dong quai  (ตังกุย) 

     ตังกุย หรือโสมตังกุย เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับนิยมเป็นอย่างสูงในประเทศ จีน ญี่ปุน และเกาหลี โดยส่วนใหญ่ในตังกุยในการรักษา อาการปวดท้องประจำเดือน, อาการของผู้สูงอายุวัยทอง และอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับผู้หมดประจำเดือน นอกจากนั้นยังใช้ในการรักษา หรือบรรเทาอาการต่างๆ ตังกุยสกัด มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น ไลกัสติไล (Ligustilide), กรดเฟรูลิก (Ferulic Acid) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ถูกนำมาใช้ในตำราแพทย์แผนไทยโบราณในการปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ รักษาภาวะขาดประจำเดือน ใช้เป็นยาแก้ปวดประจำเดือน หรือรักษาอาการร้อนวูบวาบในหญิงหมดประจำเดือน

     มีรสหวานและเผ็ด อุ่น เข้าสู่เส้นลมปราณตับ หัวใจ และม้าม  บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือด ทำให้ประจำเดือนสม่ำเสมอ ระงับปวด ทำให้ลำไส้ชุ่มชื้นและช่วยระบายนอกจากนั้นยังใช้ในการรักษา หรือบรรเทาอาการดังต่อไปนี้

     ตังกุยมีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน โดยเฉพาะมณฑล ส่านซี มณฑลยูนาน และใต้หวัน เหมาะกับสภาพอากาศชื้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนยาว รากของตังกุยคือส่วนที่จะนำเอาไปใช้เป็นยา ดังนั้นหากจะได้รากตังกุยที่ดี ก็จำเป็นต้องปลูกในสภาพอากาศที่มีความชื้นเหมาะสม มีดินที่อุ้มน้ำ และได้รับแสงรำไร มักจะพบตังกุยได้จากป่าดิบเขา และแหล่งเพาะปลูกตามภูเขาสูง การขยายพันธุ์ตังกุยโดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณส่วนของโลกที่อยู่ในระหว่างเขตหนาวกับเขตร้อน ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี และมีความชื้นสูง ต้องการที่ร่มรำไร ชอบอากาศเย็นชื้น โดยเฉพาะในบริเวณที่อยู่ใกล้ทางน้ำไหล ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000-9,000 เมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2-3 ปี

จากงานวิจัยพบว่า 

yes  ช่วยลดอาการปวดศรีษะไมเกรนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนได้ โดยการรับประทานส่วนผสมระหว่าง ตังกุย, ถั่วเหลือง และแบลกโคฮอส เป็นระยะเวลา 24 อาทิตย์ ติดต่อกัน

yes  ฉีดสารที่มีส่วนผสมของตัวกุยที่ 250 มล. เป็นระยะเวลา 10 วัน พบว่า สามารถลดความดันโลหิต และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

yes  ปัญหาการหลั่งเร็ว ทดลองโดยการทาครีมที่มีส่วนผสมของตังกุยสกัด และสมุนไพรจีนชนิดอื่นยังบริเวณอวัยวะเพศ พบว่า ช่วยลดปัญหาการหลั่งเร็วในสุภาพบุรุษได้

     โดยทั่วไปแล้ว ตังกุยก็เช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ คือ ถ้าใช้ในปริมาณที่ปกติก็ไม่พบอันตรายอย่างไร แม้ในบางคน ที่ได้รับตังกุยแล้วเกิดอาการผิดปกติ เมื่อหยุดยาอาการดังกล่าวก็มักจะหายไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสียเลยทีเดียว ถ้าร่างกายได้รับสารมาก ส่วนจะมากเท่าใดนั้นคงยากที่จะตอบ แต่จากการทดลองในสัตว์ โดยใช้สารสกัดน้ำปริมาณ 0.3-0.9 กรัมต่อน้ำหนักตัว 10 กรัม ฉีดเข้าสู่กระเพาะ จะมีผลให้การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตลดลง และกดการหายใจ และเมื่อได้รับสารมากขึ้นก็จะแสดงอาการมากขึ้น แต่จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่พบว่ามีผู้ใดได้รับอันตรายร้ายแรง จากการรับประทานตังกุยเลย

ประโยชน์และสรรพคุณตังกุย

  1. เป็นยาขับระดู แก้รกตีขึ้น ขับรกและแก้ไข้ในเรือนไฟ
  2. แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
  3. แก้ตกมูกเลือด และสตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ
  4. แก้สะอึก แก้ไอ 
  5. ช่วยรักษาสมดุลของการไหลเวียนโลหิตในผู้หญิง
  6. ช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
  7. แก้ปวดประจำเดือน
  8. ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  9. เป็นยาระบายท้องอ่อนๆ
  10. ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
  11. แก้หืดไอ แก้หอบ
  12. แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา
  13. ยับยั้งเนื้องอกในมดลูก รังไข่

การรับประทานตังกุย 

     ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 5-15 กรัม โดยใช้ร่วมกับตัวยาอื่นเพื่อต้องเป็นตำรับยา หรือใช้
ทำเป็นอาหาร ตุ๋นกับเนื้อสัตว์ หรือต้มกับข้าวทำเป็นโจ๊กก็ได้

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของตังกุย

    กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และมดลูก ปกป้องตับ ปกป้องสมองและไขสันหลัง เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ต้านเนื้องอกและยับยั้งเซลล์มะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ ลดความกังวล กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก ป้องกันการถูกทำลายโดยรังสี มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน

ข้อควรทราบสำหรับการรับประทานตังกุย หรือโสมตังกุย

สตรีระหว่างตั้งครรภ์

การรับประทานตังกุยระหว่างตั้งครรถ์อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกในครรถ์ เนื่องจากสารในตังกุยส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อมดลูก ทั้งนี้ยังเคยมีกรณีที่สตรีระหว่างตั้งครรถ์ทานสมุนไพรที่ส่วนผสมของตังกุยในช่วงระหว่างสามเดือนแรกเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการพิการในเด็ก

ผู้ป่วยแผลเลือดออกเรื้อรัง

     สารในตังกุยอาจส่วนผลให้การเกาะตัวกันของเกล็ดเลือดช้าลง ทำให้แผลเลือดออกหายได้ ยากขึ้น นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่อ่อนไหวต่อฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งมดลูก, มะเร็งปากมดลูก, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื่องจากสารในตังกุยมีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ร่างกายรับรู้สารดังกล่าวเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

ผู้ป่วยที่ร่างกายขาดโปรตีน S

     มีความเสี่ยงเรื่องการเกิดโลหิตอุดตันได้ ทั้งนี้มีความกังวลว่าการรับประทานตังกุยจะทำให้เกิดความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้ เนื่องจากสารในตังกุยที่มีผลกระทบต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย

ผู้ป่วยหลังผ่าตัด

     การทานตังกุยจะส่งผลให้ลิ่มเลือดเกาะตัวกันได้ช้าลง ส่งผลให้แผลหลังการผ่าตัดหายได้ช้าลง

BACK