หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Sacha Inchi Oil (น้ำมันดาวอินคา)

ดาวอินคาคืออะไร enlightened

     สำหรับในประเทศไทยได้มีบริษัทเอกชนนำดาวอินคาเข้ามาส่งเสริมการปลูกครั้งแรก เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาโดยเริ่มที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากเห็นว่ามีที่ตั้งภูมิศาสตร์เส้นทางคมนาคมที่เหมาะสม และสามารถเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศอินโดจีนได้จนมีการปลูกอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน 


 

ประโยชน์และสรรพคุณดาวอินคา 

ʕ·ᴥ·ʔ มีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด


ʕ·ᴥ·ʔ สามารถต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการออกซิเดชันของไขมัน


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมมาบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยรักษาความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์


ʕ·ᴥ·ʔ ลดการอักเสบของหลอดเลือด


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขข้อ


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยบำรุงสุขภาพผิวและผม


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระอันเป็นต้นเหตุของการอักเสบ


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยลดริ้วรอย


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยป้องกันไวรัส โทโคฟีรอล (tocopherols) ไฟโตสเตอรอล (phytosterol)


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคมะเร็ง


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยกระตุ้นความจำ


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมอง , ป้องกันโรคสมองเสื่อม


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยควบคุมความดันในลูกตา และเส้นเลือด


 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

     ที่ผ่านมามีงานวิจัยทางคลินิกที่ศึกษาถึงผลของน้ำมันดาวอินคา ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถน้ามาใช้แทนโอเมก้า-3 ที่มีอยู่ในน้้ามันปลาได้หรือไม่ โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาผลของน้ำมันจากดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือด ทดลองในผู้ป่วยที่มีปัญหาคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้รับประทานน้ำมันที่สกัดจากดาวอินคา 5 หรือ10 มิลลิลิตรเป็นระยะเวลา 4เดือน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีผลคลอ-เรสเตอรอลทั้งหมดและไขมันที่ไม่จ้าเป็นในเลือดลดลง และเพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล แสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ที่อยู่ในดาวอินคาออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่สกัดออกมาได้จากน้ำมันปลา


 

การศึกษาทางพิษวิทยา

     สำหรับความปลอดภัยในการรับประทานน้ำมันดาวอินคา ได้มีงานวิจัย ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองอายุระหว่าง 25-55 ปีจ้านวน 30 คน เป็นเพศชาย 13 คน และเพศหญิง 17 คนรับประทานน้ำมันดาวอินคา วันละ 10-15 มิลลิลิตร โดยเปรียบเทียบกับน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันปริมาณเท่ากัน ตอนเช้า เป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าผลข้างเคียงที่พบเป็นหลักในกลุ่มที่รับประทานน้ำมันดาวอินคา ได้แก่อาการคลื่นไส้เรอ ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบบ้าง ได้แก่ ร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องผูก ส่วนผลข้างเคียงที่พบเป็นหลักในกลุ่มที่รับประทานน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ได้แก่คลื่นไส้ท้องอืด ส่วนอาการอื่น ๆ ที่พบบ้าง ได้แก่ ปวดท้อง ในส่วนของค่า  การทำงานของตับ ได้แก่ AST (Aspartate transaminase), ALT (Alanine Aminotransferase), GGT (Gammaglutamyl transferase), Alkaline Phosphatase, Total Bilirubin, Albumin, Total protein ค่าการท้างานของไตได้แก่ Creatinine ค่าการอักเสบ ได้แก่ CRP และค่ากรดยูริค(Uric acid) ทั้งหมดนี้ไม่พบว่ามีความผิดปกติ

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง yes

1.เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ดาวอินคาอย่างแน่ชัด ดังนั้นในการใช้ป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

2.ไม่ควรใช้ติดต่อกันในปริมาณมากลเป็นเวลานานเพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย

3.ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปของดาวอินคา ควรเลือดผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ดาวอินคา enlightened

     ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดรูปแบบ / ขนาดการใช้หรือขนาดรับประทานดาวอินคาอย่างแน่ชัด โดยบางงานวิจัยระบุว่า เมล็ดดาวอินคารับประทานไม่ได้ เนื่องจากมีสารกลุ่มที่ยับยั้งกานทำงานของเอ็นไซม์ทริปซิน (trypsin inhibitor) แต่สามารถนำมาหีบเอาน้ำมันมาใช้รับประทานเพื่อให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันดาวอินคา และบางงานวิจัยระบุว่าเมล็ดดาวอินคาสามารถรับประทานได้เมื่อทำให้สุกแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการรับประทานเพื่อป้องกันและบำบัดรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก็จะเป็นการดีที่สุด

ลักษณะทั่วไปดาวอินคา laugh

 ดาวอินคาจัดเป็นไม้เลื้อยเพราะมีลำต้นเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุนาน 10-50 ปี ลำต้นแตกกิ่งเป็นเถาเลื้อยได้ยาวมากว่า 2 เมตร เถาอ่อนมีสีเขียว เถาแก่หรือโคนเถามีสีน้ำตาล แก่นเถาแข็ง และเหนียว

✿ ใบของถั่วดาวอินคาเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเยื้องกันตามความยาวของเถา ใบมีรูปหัวใจ โคนใบกว้าง และเว้าตรงกลางเป็นฐานหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม แผ่นใบมีสีเขียวสด และมีร่องตื้นๆตามเส้นแขนงใบ ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีก้านใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนแผ่นใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร

✿ ดอกเป็นช่อตามซอกใบบนเถา แต่ละช่อมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะทรงกลม สีเขียวอมเหลือง เป็นดอกชนิดแยกเพส แต่รวมอยู่ในช่อดอก และต้นเดียวกัน โดยดอกเพสเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อดอก 2-4 ดอก ส่วนดอกเพศผู้มีจำนวนมากถัดจากดอกเพศเมียมาจนถึงปลายช่อดอก ทั้งนี้ ถั่วดาวอินคาจะติดดอกครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน หลังเมล็ดงอก และผลจะแก่ที่พร้อมเก็บได้ประมาณอีก 3-4 เดือน หลังออกดอก

BACK