หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Tuna Oil (น้ำมันปลาทูน่า)


     น้ำมันปลา หรือ ฟิชออยล์ (Fish Oil) คือ น้ำมันที่สกัดมาจากส่วนของเนื้อปลา หนัง หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึก (โดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ถ้าปลาทะเลทั่วไปจะได้สารสำคัญน้อยกว่าปลาทะเลที่อยู่ในกระแสน้ำเย็น) ในน้ำมันปลานี้จะมีกรดไขมันอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่สำคัญและมีการนำมาใช้ในทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 และ​กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-6 แต่กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 เนื่องจากมีกรดสำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

     เป็นส่วนหนึ่งของไขมันที่สกัดจากส่วนหัวและส่วนเนื้อของปลาทูน่าซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอเมก้า 3 ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเด่นๆ 2 ชนิด ได้แก่


ʕ·ᴥ·ʔ กรดดีโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA ( Decoxahexaenoic Acid )

ʕ·ᴥ·ʔ กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ EPA ( Eicosapentaenoic Acid )

 

Tuna Oil (น้ำมันปลาทูน่า) กับการรักษาโรค enlightened
 

ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ


     มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ทั้งอาจช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในร่างกาย และยังช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และความดันโลหิตได้อีกด้วย

รักษาภาวะหรืออาการทางจิตใจ


     เนื่องจากน้ำมันปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สำคัญต่อการทำงานของสมอง หลายคนจึงเชื่อว่าน้ำมันปลาอาจช่วยในการรักษาภาวะหรืออาการทางจิตใจ จึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันปลาในด้านนี้ ชี้ว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจช่วยป้องกันภาวะผิดปกติทางจิตใจบางอย่าง และยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคไบโพลาร์และโรคจิตเภทอีกด้วย

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก
     

     อ้วน เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากผิดปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกไป และอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งผู้ป่วยภาวะอ้วนจะต้องลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ต้านการอักเสบ 


      การอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายอย่างแบคทีเรีย ไวรัส สารเคมี รวมถึงการบาดเจ็บของร่างกาย ซึ่งการอักเสบเรื้อรังอาจเกี่ยวข้องกับโรคหรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และโรคหัวใจ เป็นต้น


 

ปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 จากแหล่งธรรมชาติ ต่อเนื้อปลา 150 กรัม

ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง: 1,500 มิลลิกรัม

✿ ปลาแซลมอนกระป๋อง: 500-1,000 มิลลิกรัม

✿ หอยแมลงภู่: 500-1,000 มิลลิกรัม

✿ แซลมอนแอตแลนติกหรือออสเตรเลีย: มากกว่า 500 มิลลิกรัม

✿ ปลาแมกเคอเรล: มากกว่า 500 มิลลิกรัม

✿ ปลากระบอก: มากกว่า 500 มิลลิกรัม

✿ ปลาซาร์ดีนสด: มากกว่า 500 มิลลิกรัม

✿ ปลาทูน่ากระป๋อง: 300-500 มิลลิกรัม

✿ ปลากะพง: 300-400 มิลลิกรัม

✿ ปลาบลูอายเทรวัลลา: 300-400 มิลลิกรัม

✿ ปลาทูน่า: 300-400 มิลลิกรัม

✿ ปลากระพงขาว: 200-300 มิลลิกรัม

✿ ปลาตาเดียว: 200-300 มิลลิกรัม

✿ กุ้ง: <300 มิลลิกรัม

     จากข้อมูลของมูลนิธิหัวใจ ประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากการรับประทานปลามีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะรับประทานปลาสองมื้อขึ้นไปต่อสัปดาห์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคของสายพันธุ์ที่มีสารปรอทสูง

 

ประโยชน์ของน้ำมันปลาทูน่า enlightened

     เนื่องจากน้ำมันปลามีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ในทางการแพทย์จึงเชื่อว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลากหลายด้าน และสำหรับประโยชน์ที่มีหลักฐานตามงานวิจัยในปัจจุบันนั้นมีดังนี้

  1. 1. EPA ช่วยลดระดับไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นไขมันตัวร้ายที่หากมีการสะสมมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ซึ่งการรับประทานน้ำมันปลาจะมีประโยชน์ต่อทั้งสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นโรคที่ต้องการลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากไขมันในเลือดสูง และผู้ที่เป็นโรคแล้ว

     ✿ จากผลวิจัยทางการแพทย์ระบุไว้ว่า น้ำมันปลาสามารถช่วยลดไขมันตัวร้ายดังกล่าวได้ 20-50% ที่สำคัญ คือ ค่อนข้างปลอดภัยและสามารถใช้ร่วมกับยาในการลดระดับไขมันในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้ (การทานร่วมกับยาที่ได้รับอยู่ปกติจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการลดไขมันดีขึ้น แต่คุณควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อน)

     ✿ การรับประทานน้ำมันปลาสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) ในผู้ที่มีปัญหาระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติได้ (แต่บางงานวิจัยก็ไม่พบว่าน้ำมันปลามีสรรพคุณดังกล่าวทั้งการเพิ่มระดับระดับ HDL และลดระดับ LDL)

  1. 2. EPA ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางระบบหลอดเลือด หัวใจและสมอง เพราะ EPA ในน้ำมันปลาจะไปช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือดและลดไขมันในเลือด ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ลดการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ทางการแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดรับประทานน้ำมันปลาเป็นประจำ

     ✿ โรคหัวใจ การรับประทานปลาจะช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจเองก็สามารถลดความเสี่ยงต่าง ๆ จากโรคของตนได้ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลานั้นยังคงไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้

     ✿ หัวใจล้มเหลว การบริโภคน้ำมันปลาในปริมาณมากทั้งจากอาหารและจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้

     ✿ ป้องกันการอุดตันซ้ำหลังการผ่าตัดขยายหลอดเลือด มีงานวิจัยที่พบว่าน้ำมันปลาสามารถลดอัตราการอุดตันซ้ำของหลอดเลือดได้มากถึง 45% เมื่อรับประทานก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์และหลังจากผ่าตัด 1 เดือน

     ✿ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery) น้ำมันปลาอาจช่วยป้องกันไม่ให้ทางเบี่ยงหลอดเลือดตีบตันซ้ำได้

     ✿ การปลูกถ่ายหัวใจ การรับประทานน้ำมันปลาอาจช่วยสงวนการทำงานของไตและลดความดันโลหิตระยะยาวหลังการปลูกถ่ายหัวใจได้

     ✿ โรคหลอดเลือดสมอง การบริโภคปลาในปริมาณที่พอเหมาะ (1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองลง 27%

  1. 3. EPA มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง เนื่องจากโอเมก้า-3 มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น จึงมีผลให้ความดันลดลงเล็กน้อย (คือช่วยลดได้ไม่มากนัก) โดยที่จะไม่มีผลต่อความดันในผู้ที่มีความดันโลหิตปกติแต่อย่างใด

     ✿ ช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจากการใช้ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้สำหรับลดความเสี่ยงการปฏิเสธอวัยวะใหม่ที่ต้องใช้หลังการปลูกถ่ายอวัยวะ

  1. 4. EPA มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ เพราะ EPA เป็นองค์ประกอบสำคัญของสารพลอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่ร่างกายสร้างขึ้นที่ช่วยลดการอักเสบและอาจช่วยรักษาภาวะหรือการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังได้ ทั้งยังช่วยลดการผลิตและการแสดงออกของยีนที่หลั่งสารไซโตไคน์ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ

     ✿ โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) การรับประทานน้ำมันปลาเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับยานาพรอกเซน (Naproxen) สามารถช่วยให้อาการของข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ดีขึ้น มีผลทำให้อาการเจ็บปวดลดลงจนมีการใช้ยาแก้ปวดน้อยลง อีกทั้งการให้น้ำมันปลาเข้าเส้นเลือดก็สามารถลดอาการบวมและข้อแข็งในผู้ป่วยโรคนี้ได้ด้วย ส่วนการศึกษาของมหาวิทยาลัยบริสตอล พบว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา สามารถบรรเทาอาการของโรคข้อกระดูกอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเมื่อทำการทดลองให้อาหารที่มีโอเมก้า-3 สูงแก่หนูตะเภาที่เป็นโรคข้อกระดูกอักเสบ พบว่า สามารถช่วยรักษาโรคได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับหนูที่กินอาหารแบบปกติ

     ✿ อาการอักเสบของข้อกระดูกในหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานน้ำมันปลาจะช่วยลดอาการอักเสบของข้อกระดูกที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักพบเจอได้

  1. 5. DHA เป็นส่วนประกอบในเซลล์สมอง ประสาท และจอประสาทตา ซึ่ง

     ✿ การได้รับ DHA ในปริมาณที่มากพอจะช่วยให้ความคิดและการจดจำดีขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ DHA จึงอาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการบำรุงสมองอย่างมาก เช่น นักเรียนนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่และต้องการเพิ่มการเรียนรู้การจดจำ หรือในผู้สูงอายุที่ต้องการช่วยเพิ่มการจดจำ การคิด ลดการเสื่อมของระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการเพิ่มความจำ DHA ก็ช่วยได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นและไม่ได้ช่วยให้ฉลาดขึ้นแต่อย่างใด (แต่ DHA สามารถเสริมได้ตั้งแต่ทารกในครรภ์ เพราะ DHA เป็นองค์ประกอบของเซลล์สมอง จอประสาทตา หากทารกได้รับอย่างเพียงพอก็จะส่งผลให้มีพัฒนาการทางสมองและสายตาที่ดีขึ้น)

     ✿ ช่วยเสริมสร้างพลังให้สมองและความจำ DHA ในน้ำมันปลาเป็นสารอาหารบำรุงสมองชั้นดี มีส่วนช่วยให้สมองทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านความจำ ด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท (Motor skill) รวมถึงระบบการมองเห็นของจอประสาทตา (Retina) ด้วย

     ✿ สำหรับทารกแรกเกิด DHA ในน้ำมันปลาอาจช่วยพัฒนาสมองในระบบประสาทส่วนกลางและพัฒนาเซลล์เนื้อเยื่อดวงตาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการมองเห็นของเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองของเด็กในช่วงครรภ์ไตรมาสสุดท้ายและในช่วงเดือนแรก ๆ หลังการคลอด เนื่องจาก DHA เป็นองค์ประกอบของเซลล์สมอง จอประสาทตา หากทารกได้รับอย่างเพียงพอก็จะส่งผลให้มีพัฒนาการทางสมองและสายตาที่สมบูรณ์ขึ้น

     ✿ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งออสเตรเลียตะวันตก (The University of Western Australia) พบว่า การเสริมน้ำมันปลาอาจนำไปสู่การทำให้การประสานกันของตาและมือที่ดีขึ้นของทารก (ทดสอบในเด็ก 72 คน โดยเปรียบเทียบคุณแม่ที่ได้รับน้ำมันปลาในปริมาณมากในระหว่างการตั้งครรภ์กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำมันมะกอก)

     ✿ การรับประทานน้ำมันปลาในระหว่างการตั้งครรภ์สามารถช่วยเสริมภูมิต้านทานของร่างกายให้คุณแม่ได้ และยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ทารกด้วยเช่นกัน โดยอาจมีผลช่วยทำให้ทารกไม่ค่อยเป็นหวัดในช่วงเดือนแรก ๆ หลังการคลอด เพราะจากการศึกษาวิจัยของคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอมโมรี (Emory University) ที่ได้ติดตามหญิงชาวแม็กซิกันจำนวน 851 คน (ผู้หญิงครึ่งหนึ่งทาน DHA วันละ 400 มิลลิกรัม กับอีกครึ่งหนึ่งที่ได้รับยาหลอก) ตั้งแต่ช่วงระหว่างเดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปจนทารกมีอายุหกเดือน แล้วทำการสัมภาษณ์ถึงปัญหาสุขภาพของเด็กทารกว่ามีอาการโรคทางเดินหายใจหรือไม่ ตั้งแต่อาการไอ มีเสมหะ คัดจมูก หายใจมีเสียงฟืดฟาด หรือเป็นหวัด พบว่า “ทารกที่คุณแม่ทาน DHA เป็นประจำจะมีอาการของโรคทางเดินหายใจน้อยกว่าเมื่อเจ็บป่วย”

     ✿ สำหรับโรคความผิดปกติด้านพัฒนาการประสานงานของอวัยวะ (Developmental coordination disorder) การรับประทานน้ำมันปลา (80%) กับน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส (20%) อาจช่วยเพิ่มความสามารถในการอ่าน สะกดคำ และพฤติกรรมของเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการประสานงานของอวัยวะที่มีอายุ 5-12 ปีได้ อย่างไรก็ตาม น้ำมันปลาอาจไม่ช่วยในเรื่องทักษะการเคลื่อนไหว

     ✿ สำหรับโรคสมาธิสั้นในเด็ก การรับประทานน้ำมันปลาจะเพิ่มสมาธิ การทำงานทางสมอง และพฤติกรรมของเด็กโรคสมาธิสั้นที่มีอายุ 8-13 ปีได้ ส่วนการศึกษาวิจัยอื่นพบว่า การรับประทานน้ำมันปลาที่มีส่วนผสมของน้ำมันอิฟนิ่งพริมโรส สามารถเพิ่มการทำงานทางสมอง และพฤติกรรมของเด็กอายุ 7-12 ปีที่เป็นโรคสมาธิสั้นได้

  1. 6. DHA อาจช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับความจำหรืออัลไซเมอร์ได้ เพราะ DHA ช่วยเพิ่มสารที่ช่วยลดการสร้างเส้นใยในสมองอันเป็นตัวการทำลายใยประสาทส่วนความจำ (ในส่วนนี้งานวิจัยยังขัดแย้งกันอยู่ มีทั้งพบว่าได้ผลและไม่ได้ผล แต่ถ้าจะให้ชัวร์แนะนำให้คุณรับประทานปลาบ่อย ๆ ก็จะดีที่สุด) แต่ถ้าเป็นอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมไปแล้วอันนี้ต่อให้ทานเยอะแค่ไหนน้ำมันปลาก็ไม่สามารถช่วยได้นะครับ
  1. 7. ช่วยเสริมการแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้า จากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคปลาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าต่ำ เพราะสมดุลของกรดไขมันในร่างกายมีผลต่อความรุนแรงของการเกิดโรคซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่าผู้ที่มีระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ต่ำ แต่มีโอเมก้า-6 สูง จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าปกติ

     ✿ สำหรับคุณแม่หลังคลอด การรับประทานน้ำมันปลาในรูปแบบอาหารเสริมสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ

  1. 8. รักษาภาวะหรืออาการทางจิตใจ เนื่องจากน้ำมันปลามีกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สำคัญต่อการทำงานของสมอง หลายคนจึงเชื่อว่าน้ำมันปลาอาจช่วยในการรักษาภาวะหรืออาการทางจิตใจ จึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันปลาในด้านนี้อยู่บ้าง โดยมีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจช่วยป้องกันภาวะผิดปกติทางจิตใจบางอย่างได้ และยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคไบโพลาร์และโรคจิตเภท

     ✿ โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) การรับประทานน้ำมันปลาร่วมกับการบำบัดรักษาโรคนี้ตามปกติสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้า (Depression) แต่ไม่อาจบรรเทาอาการพลุ่งพล่าน (Mania) ในผู้ป่วยโรคนี้ได้

     ✿ โรคจิต (Psychosis) มีงานวิจัยที่พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาอาจช่วยป้องกันโรคจิตในวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุน้อยที่มีอาการไม่รุนแรงมากได้ (แต่ยังไม่ได้ทดสอบในผู้สูงอายุ)

  1. 9. ลดอาการปวดไมเกรน (Migraine headaches) ด้วยกรดไขมันในน้ำมันปลามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพรอสตาแกลนดินและลดการหลั่งสารซีโลโทนิน ทำให้การเกาะตัวของหลอดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง น้ำมันปลาจึงอาจช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้ (แต่งานวิจัยบางชิ้นก็ระบุว่าน้ำมันปลาไม่ได้ช่วยลดความรุนแรงหรือลดความถี่ของอาการปวดไมเกรนได้แต่อย่างใด)
  1. 10. ลดอาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) การรับประทานน้ำมันปลาเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิตามินบี 12 สามารถลดระยะเวลาเจ็บปวดและลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดในช่วงปวดประจำเดือนของผู้หญิงได้

 


แนะนำผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา ⚡


     ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาทั่วไปจะมีส่วนผสมหลัก ๆ คือ EPA และ DHA แต่ในปัจจุบันน้ำมันปลาบางยี่ห้อได้มีการเติมสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์เพิ่มเติมอย่างเช่น วิตามินอี และแอสตาแซนธินที่ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

✿ วิตามินอี (Vitamin E) ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดการอักเสบ จึงอาจช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ภายในหลอดเลือดได้ โดยผลการทดลองชิ้นหนึ่งพบว่าการได้รับวิตามินอีเป็นประจำทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้วิตามินอียังเป็นสารที่ช่วยคงสภาพและปริมาณของสารสำคัญของน้ำมันปลาให้สูงสุดในระหว่างรอการบริโภคด้วย


✿ สารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่อาจช่วยต่อต้านการอักเสบของหลอดเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด และอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบหรือการอุดตันของเส้นเลือดเช่นเดียวกับโรคหัวใจได้ นอกจากนี้แอสตาแซนธินยังช่วยป้องกันการทำลายเซลล์และกระบวนการออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้เกิดริ้วรอยและการเสื่อมของเซลล์ก่อนวัยอันควรได้ด้วย

 

 

คำแนะนำในการรับประทาน enlightened

  ทั่วไป เด็กอายุระหว่างสองถึงสามปีต้องรับประทานอย่างน้อย 40 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 55 มิลลิกรัมต่อวันในเด็กอายุ 4-8 ปี สำหรับวัยรุ่นอยู่ระหว่าง 70 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อวัน ขึ้นกับอายุและเพศ

  สำหรับผู้ใหญ่ มูลนิธิหัวใจแนะนำให้บริโภค อีพีเอ และ ดีเอชเอ ระหว่าง 250 และ 500 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน หรือ ให้ได้ระหว่าง 1,750 ถึง 3,500 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

  หากต้องการคงระดับไขมันในเลือดให้มีสุขภาพดี ควรบริโภคโอเมก้า-3 ประมาณ 900 มิลลิกรัม

  หากต้องการลดการอักเสบในข้อต่อที่ไม่รุนแรง ก็ควรบริโภคให้ได้ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน

BACK