หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

เควอซิทีน (Quercetin)


     เควอซิทีน (Quercetin) เป็นชื่อของสารที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารจำพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่สามารถพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น หัวหอม แปะก๊วย ชาเขียว เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้สามารถพบเจอคำว่า เควอซิทีน นี้ได้ตามผลิตภัณฑ์อาหารเสริมตามร้านทั่วไป อาจมีทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบเป็นเควอซิทีนทั้งหมด และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบางชนิดที่มีเควอซิทีนผสมรวมกับสารสกัดอื่นๆ
 
     เควอซิทีนนั้น ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยต้านการอักเสบ และเสริมภูมิคุ้มกัน ในบางกรณี เควอซิทีนถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันของคนไข้บางราย ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และต้านการอักเสบในหลอดเลือด อีกทั้งยังส่งผลไปถึงการลดความเสี่ยงในการตีบของหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย เนื่องจากเควอซิทีนเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระที่สูง ในปัจจุบัน จึงนิยมนำสารเควอซิทีนมาใช้เป็นยาเพื่อป้องกันโรคทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงใช้ในการป้องกันการอักเสบ และอาการแพ้ต่างๆอีกด้วย
 

 

ประโยชน์ ของ เควอซิทีน (Quercetin) enlightened

 

 

เควอซิทีนช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง ?


     เควอซิทิน Quercetin นั้นออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยต้านการอักเสบ และเสริมภูมิคุ้มกัน ในบางกรณี เควอซิทีนถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันของคนไข้บางราย ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และต้านการอักเสบในหลอดเลือด อีกทั้งยังส่งผลไปถึงการลดความเสี่ยงในการตีบของหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย เนื่องจากเควอซิทีนเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระที่สูง ในปัจจุบัน จึงนิยมนำสารเควอซิทีนมาใช้เป็นยาเพื่อป้องกันโรคทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงใช้ในการป้องกันการอักเสบ และอาการแพ้ต่างๆอีกด้วย

การใช้และประสิทธิภาพของเควอซิทิน yes


     ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาร Quarcetin เป็นจำนวนมาก แต่ยังเป็นเพียงการศึกษาระยะสั้นและขนาดเล็ก จึงยังต้องมีการรวบรวมข้อมูลและการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษาของ Quarcetin ต่อไป

 โรคหัวใจ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยเควอซิทินอย่างเช่นชา, หัวหอม, และแอปเปิ้ลอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจของผู้สูงอายุได้ อย่างไรก็ตามการทานอาหารเสริมเควอซิทินทุกวันกลับไม่อาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจของผู้ที่มีสุขภาพดีแต่อย่างใด


✿ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ จากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานเควอซิทินอาจลดโอกาสติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงได้


✿ คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้อาหารเสริมเควอซิทินในระยะสั้นไม่อาจลดระดับคอเลสเตอรอลไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein (LDL) cholesterol) ที่ไม่ดี หรือเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (high-density lipoprotein (HDL) cholesterol) ที่ดีได้แต่อย่างใด


✿ การปลูกถ่ายไต งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเควอซิทิน 20 mg กับเคอร์คูมิน (curcumin) 480 mg หนึ่งหรือสองครั้งต่อวันเริ่มจาก 24 ชั่วโมงของการปลูกถ่ายไตและต่อเนื่องนาน 1 เดือนร่วมกับยาต้านการปฏิเสธอวัยวะใหม่จะช่วยให้การทำงานของไตใหม่มีมากขึ้น


✿ มะเร็งปอด งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการบริโภคเควอซิทินปริมาณสูงจากอาหารอาจช่วยลดโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะกับผู้ชายที่สูบบุหรี่ได้


✿ มะเร็งรังไข่ การศึกษาด้านประชากรชิ้นหนึ่งไม่พบความเชื่อมโยงของการบริโภคเควอซิทินจากอาหารกับโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่แต่อย่างใด


✿ มะเร็งตับอ่อน งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานอาหารที่มีเควอซิทินปริมาณสูงอาจลดโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนในผู้ชายที่สูบบุหรี่โดยเฉพาะ


✿ อาการเจ็บปวดและบวมที่ต่อมลูกหมาก การทานเควอซิทินอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ แต่ไม่อาจช่วยแก้ไขปัญหาการขับถ่ายของผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้

BACK