หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Plant sterol (แพล้นท์สเตอรอล)

 

     สารอาหารจากพืช ช่วยลดหรือควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เป็นที่ทราบกันว่า คอเลสเตอรอลเลว LDL เป็นสาเหตุหนึ่งของการอุดตันหลอดเลือด นำไปสู่โรคหัวใจหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตทั้งหลาย สารสกัดไฟโตสเตอรอล จึงเป็นทางเลือกหลัก โดยอาจนำมาเติมเข้ากับอาหารหลัก หรือผลิตเป็นอาหารเสริม ดูเหมือนว่าหากกลไกอธิบายการควบคุมคอเลสเตอรอล เกิดขึ้นได้จริง ก็เป็นการช่วยลดการดูดซึม LDL คอเลสเตอรอลร้าย โดยไม่มีผลกระทบต่อ HDL และการสร้างคอเลสเตอรอลปกติของตับ จึงช่วยแก้ปัญหาผลกระทบตามมาจากคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เช่น หลอดเลือดอุดตัน แข็งกระด้าง ตีบตัน ความดันสูง สโตรค ฯลฯ

     ในผลิตภัณฑ์แพลนสเตอรอล ยังนิยมเติมสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง (superantioxidants) เช่น โอพีซี เข้าไว้ด้วย เพื่อช่วยปกป้องออกซิเดชั่นต่อสารสำคัญ และยังเข้าไปปกป้อง LDL ส่วนที่มีอยู่แล้วในกระแสเลือด มิให้ถูกอนุมูลอิสระจู่โจมทำลายให้กลายเป็น LDL พิษ เกาะติดผนังหลอดเลือดโดยง่าย

แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ enlightened

     โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน คือการมีระดับไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ
 

 

มีวิธีใดที่ช่วยลดโคเลสเตอรอลได้บ้าง

     วิธีที่แรก คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย ซึ่งวิธีนี้จะมีเหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันสูงเล็กน้อยถึงปานกลาง


     วิธีที่สอง คือการใช้ยาช่วยลดการดูดซึมไขมันในเลือด นิยมใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับไขมันสูงมาก ควบคู่ไปกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งในปัจจุบันได้มีการทำวิจัยและทดลองการใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติหลายชนิดที่สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลมาใช้กับผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดมากขึ้น เนื่องจากเป็นสารที่หาได้จากธรรมชาติและมีราคาถูกกว่าสารเคมีหรือยาที่ต้องสังเคราะห์ขึ้นมา สารสกัดจากธรรมชาติที่นิยมตัวหนึ่งในวงการแพทย์ ได้แก่ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) และ Plant Stanol
 

 

หลักการทำงานของ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)


     นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยในหลอดทดลองว่า  Plant Stanol สนับสนุนการทำงานของเซลล์ที่ผนังลำไส้ เพิ่มอัตราการขจัดโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย กลุ่มงานวิจัยในหลายประเทศให้การรับรองการกลไกทำงานของ Plant Stanol เป็นสารช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่ปลอดภัย รวมถึงองค์กร World Heart Foundation ได้กำหนดปริมาณแนะนำไว้ที่ 2 กรัมต่อวัน เพื่อลดระดับโคเลสเตอรอล

     สารสกัด แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) พบได้ในอาหารเช่นโยเกิรต์ชนิดตัก ชนิดดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มธัญพืชสำเร็จรูป ถั่ว น้ำมันพืช โดยเฉพาะในน้ำมันรำข้าว เนย เนยเทียม มาร์การีน จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมไปถึงอาหารดังที่กล่าวมาด้วย

 

สรรพคุณของ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)
 

     ในสหภาพยุโรปอนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสม แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) และ Plant Stanol เป็นส่วนประกอบในอาหารโดยสามารถแสดงสรรพคุณ หรือ คุณประโยชน์ของอาหารบนฉลากบรรจุภัณฑ์ได้ว่า “ลดโคเลสเตอรอลในเลือด” (lower/reduce blood cholesterol) หรือ “โคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ” (High Cholesterol is a risk factor in the development of coronary heart disease)

     ทั้งนี้ แพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol) มีปริมาณน้อยมากในอาหารตามธรรมชาติ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ อุตสาหกรรมอาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อลดโคเลสเตอรอล โดยเติมสารสกัด Plant Sterol ลงไป ซึ่งในหลายประเทศได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของ Plant Sterol เช่น โยเกิร์ต กาแฟผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มธัญพืชสำเร็จรูป  เนย เนยเทียม เป็นต้น

 

ประโยชน์จากแพล้นท์สเตอรอล (Plant Sterol)


yes  ลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว(LDL) และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสเตอรอลและสตานอล จะเข้ายับยั้งการดูดซึม ควบคุมปริมาณการละลายและการย่อยคอเลสเตอรอลในลำไส้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ คือ เข้าแข่งขันการดูดซึมกับคอเลสเตอรอล ทำให้คอเลสเตอรอลถูกดูดซึมไม่ได้ จึงใช้เป็นสารลดคอเลสเตอรอล

yes  ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดทั้งที่เกิดจากคอเลสเตอรอลและการเกาะกันของเกล็ดเลือดในเส้นเลือด

yes  ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้

yes  ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี 'ไขมันเลว' (LDL)

yes  ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

yes  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

yes  ลดอาการต่อมลูกหมากอักเสบ

yes  ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในต่อมลูกหมาก

yes  ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ

คำแนะนำในการรับประทาน 


     ร่างกายควรได้รับไฟโตสเตอรอล จากธรรมชาติ 150-450 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ อาจได้รับไฟโตสเตอรอลจากอาหารสูงถึง 700 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าผู้รับประทานมังสวิรัติ และชาวญี่ปุ่นจะได้รับสเตอรอล จากอาหาร 300-500 มิลลิกรัม ในขณะที่อาหารตะวันตก มีสเตอรอลเพียง 100-300 มิลลิกรัม และสตานอล 20-50 มิลลิกรัมต่อวัน

BACK