หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Phytosterol (ไฟโตสเตอรอล)

     

     ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) มีโครงสร้างคล้ายคอเลสเตอรอล เป็นสารประกอบที่พบได้ในพืชจำพวก ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ผักและผลไม้ อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ สารโครงสร้างคล้ายกันแตกต่างกันที่แหล่งที่มาคือคอเลสเตอรอลมาจากสัตว์ แต่ไฟโตสเตอรอลมาจากพืช ไฟโตสเตอรอลมี 2 รูปแบบคือ สเตอรอล(sterol)และสตานอล(stanol) เนื่องจากโครงสร้างที่คล้ายกันเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ไฟโตสเตอรอลจึงแย่งพื้นที่กับคอเลสเตอรอลในการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ทำให้คอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อยลง ร่วมกับจับตัวกับคอเลสเตอรอลในน้ำดี ทั้งหมดขับออกไปทางอุจจาระ ทำให้ผลรวมของระดับคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลง

     

     ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย และยังมีงานวิจัยที่กล่าวถึงประโยชน์ของไฟโตสเตอรอลอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) โดยที่ไม่ลดคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ยิ่งไปกว่านั้นไฟโตสเตอรอลยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก และช่วยทำลายเซลล์มะเร็งเต้านม รวมทั้งยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย

 แหล่งอาหารที่มีไฟโตสเตอรอล / 100 กรัม

     แหล่งอาหารที่มีไฟโตสเตอรอลคือ ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ผักและผลไม้ แต่การที่จะบริโภคอาหารเหล่านี้ให้ได้ปริมาณไฟโตสเตอรอล 2 ก. เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก จึงมีการเติมไฟโตสเตอรอลเข้าไปในอาหาร เช่น เนยมาการีนบางยี่ห้อ โยเกิร์ตบางตัว หรืออาหารเสริมที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากองค์การอาหารและยาของอเมริกา(FDA) เพื่อช่วยเสริมทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสรับไฟโตสเตอรอลได้ตามปริมาณที่แนะนำ

ประโยชน์ของไฟโตสเตอรอล

     ไฟโตสเตอรอลลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสเตอรอลและสตานอล จะเข้ายับยั้งการดูดซึม ควบคุมปริมาณการละลายและการย่อยคอเลสเตอรอลในลำไส้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ คือ เข้าแข่งขันการดูดซึมกับคอเลสเตอรอล ทำให้คอเลสเตอรอลถูกดูดซึมไม่ได้ จึงใช้เป็นสารลดคอเลสเตอรอล ไฟโตสเตอรอล นิยมผสมลงในอาหาร จะช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบว่าสตานอล มีประสิทธิภาพในการลดคอเลสเตอรอล ดีกว่าสเตอรอล

  1. yes  ลดการดูดซึมของ Cholesterol พบว่าหากรับประทาน phytosterols 1.5-1.8 กรัมจะลดการดูดซึมของ Cholesterolลงได้ร้อยละ 30-40 ขนาด 2.2 กรัมจะลดการดูดซึมของ Cholesertor ได้ถึงร้อยละ 60 ผลคือระดับ LDL cholesterol ในเลือดลดลง
  2. yes  พบว่าหากรับประทานอาหารที่มี phytosterols มากกว่า 2 กรัมต่อวันจะลดระดับ LDL cholesterol ลงได้ร้อยละ 9-14
  3. yes  จากการศึกษาพบว่าการลดลงของ LDL cholesterol ร้อยละ10 จะทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจลดลงร้อยละ 20 ดังนั้นจึงเชื่อว่า phytosterols สามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ
  4. yes  มีรายงานว่า phytosterols จะป้องกันโรค มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด โดยเชื่อว่าสาร phytosterols จะยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ลดคอเลสเตอรอลด้วยเส้นใยอาหารจากธรรมชาติ ไฟโตสเตอรอล (PHYTOSTEROL)

     ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาหารในปัจจุบันมีส่วนผสมที่มีไขมันคอเลสเตอรอลแฝงอยู่โดยเฉพาะอาหารมื้ออร่อย ไม่ว่าจะเป็นหมูกระทะ เนื้อติดมัน อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารฟาสต์ฟู้ด ไอศครีม ขนมเบเกอรี่ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ที่บอกว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งนั้นเพราะคอเลสเตอรอลจากอาหารมีผลต่อต่อร่างกาย 20% ส่วนสาเหตุที่เหลือ 80% ที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงมาจากการทำงานของตับที่เสื่อมลงตามอายุที่มากขึ้น จะเห็นได้ชัดในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ทำให้แนวโน้มคนเรามีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้นในขณะที่อายุเริ่มต้นเป็นก็น้อยลงแม้กระทั่งคนที่ภายนอกดูผอมหุ่นดี

คลอเลสเตอรอลสูงส่งผลอย่างไร enlightened

     อาจเคยสงสัยที่คนนั้นคนนู้นบอกว่ามีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงแต่ก็เห็นเค้าแข็งแรงดี ไม่มีอาการผิดปกติอะไร คนส่วนใหญ่เลยคิดเองว่าคงไม่เป็นอะไร แต่ก็เคยได้ยินข่าวบ่อยๆใช่มั้ยว่าอายุน้อยๆมีอาการเจ็บหน้าอกหัวใจขาดเลือด (อ่านเพิ่มได้ที่ ปัญหาหัวใจ ปัญหาระดับโลก) หรือล้มแขนขาอ่อนแรงไปซีกหนึ่งหรือหน้าเบี้ยวเหมือนแม่พระเอกในละครโทรทัศน์ นั่นก็เพราะภาวะไขมันอุตตันเส้นเลือดเป็นสาเหตุหนึ่งนั่นเอง สิ่งที่คาดเดาไม่ได้ยิ่งกว่าคือการที่ตรวจเลือดพบระดับคอเลสเตอรอลปกติแต่มีอาการได้ เพราะความจริงแล้วผลเลือดที่เครื่องตรวจวัดได้นั้นคือตรวจหาในเลือดแต่ไม่สามารถตรวจการฝังตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังเส้นเลือด(Plaque)ได้ว่าตีบไปมากน้อยเท่าไหร่แล้ว เปรียบกับท่อน้ำจะรับรู้ว่าน้ำไหลช้าลงก็เมื่อท่อน้ำตันไปได้ส่วนหนึ่งแล้ว เหมือนกันกับร่างกายเราจะตระหนักอีกทีก็เมื่อมีอาการแล้ว และนอกจากนั้นไขมันยังไปเกาะตามที่ต่างๆได้ เช่น ไขมันพอกตับ หน้าท้อง ส่งผลเสียต่อเราได้เช่นกัน

ข้อควรระวังในการรับประทาน yes

     แต่อาจพบอาการท้องอืดได้เนื่องจากไฟโตสเตอรอลเป็นเส้นใยธรรมชาติ ที่อยู่ในผนังเซลล์พืช แก้โดยการเริ่มต้นทานทีละน้อย หรือดื่มน้ำตามปริมาณมาก ไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และวิตามินเค 

ทานไฟโตสเตอรอลแล้วมีผลข้างเคียงไหม surprise

     ผลข้างเคียงของการรับประทานไฟโตสเตอรอลยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุไว้ชัดเจน แต่อาจพบอาการท้องอืดได้เนื่องจากไฟโตสเตอรอลเป็นเส้นใยธรรมชาติที่อยู่ในผนังเซลล์พืช แก้โดยการเริ่มต้นทานทีละน้อย หรือดื่มน้ำตามปริมาณมาก ไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และวิตามินเค อย่างไรก็ตามก่อนการรับประทาน ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เคยมีภาวะลำไส้อุดตันและมียาที่รับประทานเป็นประจำ


     การรับประทานยาเคมีลดไขมันไปตลอดไม่เป็นผลดีแน่ ไฟโตสเตอรอลเส้นใยอาหารจากธรรมชาติจึงเป็นการแพทย์ทางเลือกที่คนทั่วโลกหันมาทานกันมากขึ้น อย่างน้อยก็ช่วยลดผลเสียที่เกิดจากการทานยาเป็นประจำได้

BACK