หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

DHEA (ฮอร์โมนดีเอชอีเอ)

     ฮอร์โมน DHEAs หรือฮอร์โมนดีเอชอีเอ  (Dehydroepiandrosterone Sulfate ชื่ออื่น ๆ : DHEAS, DHEA-S, DHEA, DHEA-SO4,) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายและฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง และฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาของลักษณะทางเพศของผู้ชายในวัยแรกรุ่น

     ฮอร์โมน DHEAs ส่วนใหญ่ผลิตในต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ สองอันที่อยู่เหนือไตของคุณ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและการทำงานของร่างกายอื่น ๆ ฮอร์โมน DHEAs ปริมาณน้อยผลิตในอัณฑะของผู้ชายและรังไข่ของผู้หญิง หากระดับ DHEAs ของคุณไม่ปกติอาจหมายถึงมีปัญหากับต่อมหมวกไตหรืออวัยวะเพศของคุณ (อัณฑะหรือรังไข่) ซึ่งสามารถค้นหาปัญหาหรืออาการต่างๆ ได้อย่างง่ายดายเมื่อตรวจสุขภาพ

     ความแปรปรวนของฮอร์โมน DHEAs มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนในเพศชายและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ รวมถึงภาวะเสื่อมถอยด้านกระบวนความคิดและการรับรู้ ฮอร์โมน DHEAs จะมีมากสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ และลดระดับลงเฉลี่ยปีละ 1-2% จนกระทั่งอายุ 90 ปี จุดนี้เอง จึงนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การเกิดภาวะชรา และประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมองในด้านความจำ

ประโยชน์ของฮอร์โมนดีเอชอีเอ DHEAs ในการรักษา enlightened


  โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  ความเจ็บป่วยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะโรคปากแห้งตาแห้ง (Sjögren‘s syndrome)
  กระดูกอ่อน (กระดูกพรุน)
  ลักษณะกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน ที่กล้ามเนื้อพิการที่หน้าและคอลีบ
  กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน
  โรคระบบประสาทมีการเสื่อมของปลอกประสาท (MS)
  ระดับฮอร์โมนสตีรอยด์ต่ำ (โรคแอดดิสัน)
  ภาวะซึมเศร้า
  โรคจิตเภท
  กลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง (CFS)
  กล้ามเนื้อเสียหายจากการออกกำลังกาย
  โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  โรคพาร์กินสัน
  อาทิเชีย พิวบิส (Atrichia pubis)
  การลดน้ำหนัก
  อาการของวัยหมดประจำเดือน
  โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์
  การเสื่อมสภาพของผิว

กรณีการมีฮอร์โมน DHEAs ในระดับสูง  yes
 


อาการ 

  การเจริญเติบโตของร่างกายและขนบนใบหน้ามากเกินไป
  เสียงพูดเล็กหรือแหบผิดปกติ
  ความผิดปกติของประจำเดือน
  สิวเห่อ
  กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นคล้ายผู้ชาย
  ผมร่วงที่ส่วนบนของศีรษะ
  การบ่งบอกโรค
  ความผิดปกติของต่อมหมวกไต
  เนื้องอกหรือเป็นมะเร็งต่อมหมวกไต
  กลุ่มอาการรังไข่ Polycystic (PCOS) PCOS เป็นโรคฮอร์โมนทั่วไปที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการมีบุตรยากหญิง

การมีฮอร์โมน DHEAs ในระดับต่ำอาการ yes

 

  น้ำหนักลดมากผิดปกติและหาสาเหตุไม่ได้

  มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนบ่อยๆ

  เวียนหัว

  เกิดภาวะขาดน้ำ

  อยากเกลือหรือของเค็มๆ

  ผิวหนังแห้งเหี่ยว หรือริ้วรอยก่อนวัยอันควร
 

  เกิดอาการซึมเศร้า

  ความต้องการทางเพศลดลง หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  เกิดการบางของเนื้อเยื่อช่องคลอดในผู้หญิง ที่จะทำให้ขาดหรืออักเสบได้ง่าย

  การบ่งบอกโรค

  ภาวะผิดปกติของต่อมหมวกไต

  โรคกระดูกพรุน

  โรคแอดดิสัน คือ โรคที่ทำให้ต่อมหมวกไตไม่สามารถทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนจำเป็นต่างๆ ได้เพียงพอ

  เกิดภาวะ Hypopituitarism ที่จะมีอาการที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อาการเบื่ออาหาร ไม่มีแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผิวแห้ง ปวดตามข้อ ความดันโลหิตต่ำ เวียนหัวเวลาลุกขึ้น ระดับเกลือโซเดียมในเลือดต่ำ ความต้องการทางเพศลดลง
มีบุตรยาก

คำแนะนำในการรับประทาน enlightened


  สำหรับผิวเสื่อมสภาพ ใช้ดีเอชอีเอ 50 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12 เดือน


  สำหรับ ภาวะซึมเศร้า ใช้ดีเอชอีเอ 30 – 450 มก. ทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทั้งใช้โดยลำพังหรือใช้ร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า เพิ่มการใช้ดีเอชอีเอได้จนถึง 500 มก. ได้ทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์


  สำหรับภาวะต่อมหมวกไตเสียการทำงาน (ปัญหาการผลิตฮอร์โมน)  ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 12 – 200 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 12 เดือน


  สำหรับเอดส์/เอชไอวี  ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50–2 250 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 16 สัปดาห์


  สำหรับการเพิ่มความหนาแน่นมวลกระดูก  ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50 – 200 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 2 ปี


  สำหรับกลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง  ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 500 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลาจนถึง 6 เดือน


  สำหรับโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)  ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12 เดือน


  สำหรับความผิดปกติด้านความจำ ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 400 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 6 เดือน


  สำหรับโรคเบาหวาน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 75 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 1 ปี ขนาดยาดีเอชอีเอเพิ่มขึ้นเป็น 1600 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 28 วัน


  สำหรับการขาดยา ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และ 12 เดือน


  สำหรับกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน


  สำหรับโรคหัวใจ ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 150 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 2 ปี


  สำหรับยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน  ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 20 สัปดาห์


  สำหรับการมีบุตรยาก ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 80 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จนถึง 4  เดือน


  สำหรับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 56 วัน


  สำหรับโรคลูปัส ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 20 – 200 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 2 ปี


  สำหรับวัยหมดประจำเดือน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 10 – 50 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 12 เดือน อีกทางเลือกขนาดยาดีเอชอีเอ-เอส 100 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ดีเอชอีเอ


 ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้หญิง ดังนี้


  ผิวมัน

  การเพิ่มขึ้นของขนอย่างไม่เป็นธรรมชาติ

  เสียงทุ้ม

  ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  ขนาดของหน้าอกเล็กลง

  ขนาดของอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น


 

อาจเกิดผลข้างเคียงกับผู้ชาย ดังนี้


  อาการเจ็บเต้านม

  อาการอยากถ่ายปัสสาวะทันทีทันใด

  ความก้าวร้าว

  การลดขนาดของอัณฑะ



ทั้งผู้หญิงและผู้ชายได้รับผลข้างเคียง ดังนี้


  สิว

  ปัญหาการนอน

  อาการปวดหัว

  อาการคลื่นไส้

  ผิวหนังมีอาการคัน

  อารมณ์เปลี่ยนแปลง
แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน และอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

BACK