หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Selenium (ซีลีเนี่ยม)

     ซีลีเนียม (Selenium) เป็นแร่ธาตุอีกตัวที่มีความจำเป็น ซี่งพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในร่างกายและเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ Glutathione peroxidase ซึ่งเร่งการทำลายของ Hydroperoxide โดยเป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์ ยังไงน่ะหรอ? ก็คือว่า ซีลีเนียม นั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี บทบาทของซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆ โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอี ในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ซีลีเนียมทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และทำงานร่วมกับวิตามินอี เสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีในการรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ ป้องกันการแก่ก่อนวัยนั่นเอง

เกี่ยวกับซีลีเนี่ยม (Selenium) enlightened

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม หรือ Selenium

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุอีกตัวที่มีความจำเป็น ซี่งพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในร่างกาย

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์สำคัญหลายชนิด มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยทำงานร่วมกับวิตามินอี

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม เป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม จะดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ร่างกายจะเก็บซีลีเนียมไว้ในตับและไตมากถึง 4-5 เท่าที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ในภาวะปกติซีลีเนียมจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ไม่ถูกต้อง

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม เป็นตัวต่อต้านการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (Antioxidant) เพราะถ้ามีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากจะเกิด Free radical ซึ่งมีพิษภัยต่อเซลล์ ทำให้กลายเป็นมะเร็ง

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม มีบทบาทเกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยทำหน้าที่ช่วยรับส่งอิเล็กตรอน

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ช่วยในการสร้างวิตามินคิวขึ้นมาในร่างกาย

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ช่วยสร้างภูมิต้านทานและบรรเทาอาการถูกพิษ หรือละลายพิษต่างๆ ในร่างกาย

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ในแหล่อาหารที่พบส่วนใหญ่ในอาหารทะเล เครื่องในสัตว์ เมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก ปลา หอย ข้าวกล้อง แตงกวา ผลิตภัณฑ์จากนม กระเทียม บลอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ ไข่

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ อาเจียน ท้องร่วง ฟันและผมร่วง เล็บหลุด ผิวหนังอักเสบและมีผลต่อระบบประสาท

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม ถ้าขาดจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย การฝ่อของกล้ามเนื้อ หรืออาจถึงขั้นเป็นหมันได้

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อความสวยความงาม  เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านริ้วรอยแห่งวัย

ʕᵔᴥᵔʔ  ซีลีเนียม เกลือแร่ ชนิดนี้มีจะถูกถูกทำลายโดยความร้อน อาหารที่ปรุงแบบสลับซับซ้อนหรืออาหารแปรรูป เช่น พวกข้าวทำเป็นแป้งจะสูญเสีย ซีลีเนียม ไป 50-75% และถ้าต้มจะสูญเสียไปประมาณ 45%


 
ประโยชน์ของ Selenium yes

ช่วยคงความยืดหยุ่นอ่อนเยาว์ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ช่วยป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด

ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบ

บรรเทาอาการร้อนวูบวาบและอาการวัยทองอื่น ๆ

ช่วยรักษาและป้องกันรังแค

ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์มและประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในผู้ชาย

ซีลีเนียมที่พบส่วนใหญ่ในร่างกาย มี 2 รูปแบบ คือ


   ซีลีเนียมในรูปแบบซีลีโนเมไธโอนีน(ที่จับรวมตัวอยู่ในโปรตีนต่างๆแทนที่ methionine) และซีลีเนียมในรูปแบบ ซีลีโนซิสเทอีน SelenoPrecise ประกอบด้วย ซีลีเนียมทั้ง2 รูปแบบหลักๆนี้ (ซีลีโนเมไธโอนีน และ ซีลีโนซิสเทอีน) และยังมีซีลีเนียมในรูปแบบอื่นๆอีกด้วย

 

หน้าที่สำคัญของซีลีเนียม enlightened

  1. 1. ซีลีเนียมทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยชนิดหนึ่ง ชื่อว่าน้ำย่อยกลูทาไทโอนเปอร์ออกซิเดส Glutathione Peroxidade โดยจะช่วยกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเปอร์ออกไซด์และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ให้หมดไป รวมถึงป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลายอีกด้วย ซึ่งจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอีด้วยนั่นเอง และนอกจากนี้จากการศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ ก็พบว่าซีลีเนียมสามารถต้านการเกิดมะเร็งได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะพบว่าเมื่อซีลีเนียมในร่างกายต่ำ ก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
  1. 2. ซีลีเนียมช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและการติดลูก ทำให้ร่างกายมีการเติบโตอย่างสมวัย
  1. 3. ซีลีเนียมช่วยให้เนื้อเยื่อสามารถหายใจได้ดีและรับส่งอีเล็กตรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  1. 4. ซีลีเนียมทำหน้าที่ในการประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่าง วิตามินดี วิตามินซี และ วิตามินเอ

 

การดูดซึมและการเก็บซีลีเนียม 


     ซีลีเนียม สามารถถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก แต่ก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของซีลีเนียมและกำมะถันด้วย ว่ามีความสมดุลกันมากแค่ไหน ส่วนการเก็บซีลีเนียมไว้ในร่างกาย จะเก็บไว้ที่ตับและไตมากที่สุด โดยคิดเป็น 4-5 เท่าของซีลีเนียมที่ พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ และจะมีบางส่วนที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ โดยหากพบว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกมาทางอุจจาระด้วย นั่นแสดงว่าอาจมีความผิดปกติหรือมีการดูดซึมที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง

แหล่งอาหารที่พบซีลีเนียม 


     สำหรับแหล่งอาหารที่พบซีลีเนียมส่วนใหญ่จะพบได้มากในอาหารทะเล ตับ ไต และเนื้อสัตว์ และพบได้น้อยมากในพืช โดยซีลีเนียมที่พบในพืชนั้นก็จะขึ้นอยู่กับซีลีเนียมที่มีอยู่ในดินที่ปลูกด้วยนั่นเอง โดยพืชที่มีซีลีเนียมได้แก่ ต้นหอม มะเขือเทศ ถั่ว จมูกข้าว หน่อไม้ กระเทียม เมล็ดพืช หอมแดงและหอมใหญ่ เป็นต้น

คำแนะนำในการรับประทาน 

✿ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน สำหรับผู้หญิงเท่ากับ 50 ไมโครกรัม สำหรับผู้ชาย 70 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์ 65 ไมโครกรัม และสำหรับหญิงผู้ให้นมบุตร 75 ไมโครกรัม

✿ ผู้ชายจะต้องการซีลีเนียมมากกว่าผู้หญิง เพราะเกือบครึ่งของซีลีเนียมในร่างกายจะรวมกันอยู่ในอัณฑะและต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ซึ่งอยู่ติดกันกับต่อมลูกหมาก และซีลีเนียมก็จะถูกขับออกมากับน้ำอสุจิ

✿ ธาตุซีลีเนียมมักอยู่ในรูปแบบของวิตามินรวม หรือวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ

✿ ซีลีเนียมในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีวางจำหน่ายตั้งแต่ขนาด 25 - 200 ไมโครกรัม

✿ รูปที่แนะนำให้รับประทานคือซีลีโนเมไทโอนีน

✿ อาหารที่ปลูกบนดินที่ขาดซีลีเนียม อาจจะไม่ได้รับแร่ธาตุซีลีเนียมเพียงพออย่างที่ควรจะได้รับ

✿ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีซีลีเนียมสูงแล้ว ขอแนะนำว่าให้หามารับประทานเสริมด้วยในขนาด 100 - 200 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคมะเร็งบางชนิด


การใช้ Selenium อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรูปแบบอื่นได้


     การได้รับซีลีเนียมเข้าสู่ร่างกายมาเกินไป คือ 5-10 ส่วนต่อล้าน จะทำให้ซีลีเนียมเข้าไปแทนที่กำมะถันที่อยู่ในอณูของซีนทีน เมไทโอนีนและซีสเทอีน เป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถนำกรดอะมิโนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ในร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว และที่สังเกตได้ชัดที่สุด ก็คือ อาการเล็บฉีก ผมแห้งขาดความชุ่มชื่น และผมแตกปลายนั่นเอง

ʕᵔᴥᵔʔ ผมร่วง เล็บเปราะ

ʕᵔᴥᵔʔ วิงเวียนศีรษะ

ʕᵔᴥᵔʔ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

ʕᵔᴥᵔʔ ​​​​​​​บวมช้ำง่าย เลือดออกง่าย

ʕᵔᴥᵔʔ ​​​​​​​ผิวหนังแดง หรือเป็นโรคผิวหนังบางชนิด

ʕᵔᴥᵔʔ ​​​​​​​ร่างกายอ่อนแอ หรือรู้สึกอ่อนเพลีย

ʕᵔᴥᵔʔ ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายกระเทียม การรับรสเปลี่ยนแปลงไป

BACK