หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)

     คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก มีหน้าที่ในการช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

     พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกส์ก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกส์ได้ดียิ่งขึ้น

ประโยช์นของพรีไบโอติก

✿ ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
✿ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
✿ กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด
✿ ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
✿ เหนี่ยวนำการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้

✿ ช่วยกระตุ้นการทำงานของแมกโครเฟจ(macrophages) ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหารดีขึ้น
✿ ช่วยดูดซับสารพิษในทางเดินอาหาร ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้
✿ ช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก ใยอาหารพรีไบโอติกจะถูกหมักด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ เกิดเป็นกรดไขมันสายสั้น กระตุ้นการหลั่งสาร GLP-1 ในกระแสเลือด ทำให้สมองรับรู้ความรู้สึกอิ่มและสบายท้อง
✿ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคระบบหัวใจ และโรคหลอดเลือด ช่วยดักจับไขมันและน้ำตาลในทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันช้าลง

คำแนะนำในการรับประทาน พรีไบโอติก

✿ ควรทานก่อนอาหารเช้าตอนท้องว่าง ร่างกายพร้อมดูดซึมสารอาหารใหม่ ทานตอนเช้าพร้อมน้ำหนึ่งแก้ว เพื่อช่วยกระตุ้นแบคทีเรียในร่างกายให้ทำงานได้อย่างดี

✿ หลังจากทานไปแล้ว ให้รอ 10 - 15 นาที แล้วค่อยทานอาหารเช้าตาม เพราะว่าน้ำย่อยจะทำลาย Probiotic ที่เราทานลงไปถึงร้อยละ 10-15 ทีเดียว

✿ ยาปฏิชีวนะ ให้กินหลังจากที่กิน Probiotic ไปแล้ว 3 ชั่วโมง

ทำไมเราถึงควรได้รับโพรไบโอติกส์เสริม?

  1.      1. โพรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้ ลองจินตนาการดู หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา อาจมีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายได้

     ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกส์จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

มีจุลินทรีย์ใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มโพรไบโอติกส์?

     ในปัจจุบันโพรไบโอติกส์ที่เราพบเห็นกันได้ในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง (Powders), รูปแบบแคปซูล (Capsules), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว (Chewable tablets), รูปแบบสารละลาย(Solution drops) หรือรูปแบบยาเหน็บช่องคลอด (Vaginal Tablets) โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีวีธีการเก็บรักษาและประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเชื้อที่พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

บทบาทของโพรไบโอติกส์ในร่างกายมีอะไรบ้าง?

โพรไบโอติกส์มีบทบาทมากมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

✿ ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้

✿ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย

✿ กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด

✿ ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป

✿ เหนี่ยวนำการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้

BACK