หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อาหารโภชนการบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ (Nutrition Thrapy Aging) 

 

หลักการทั่วไปสำหรับเลือกและเตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ enlightened

  1. 1. เลือกอาหารที่มีในท้องถิ่น ออกตามฤดูกาล เพราะจะทำให้ได้รับสารอาหารสูงสุด ไม่มีสารเคมีที่ใช้  บังคับให้ออกนอกฤดู และควรเป็นอาหารที่ผู้สูงอายุชอบรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรับประทานได้มากขึ้น  
  2. 2. เลือกอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวหรือ กึ่งของเหลว เพื่อให้กลืนง่าย ไม่ติดคอ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นมถั่วเหลือง เป็นต้น 
  3. 3. เลือกอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เพื่อให้เคี้ยว และย่อยง่าย เช่น ข้าวหุงนิ่ม ๆ ปลา ไข่ เต้าหู้ ผักต้ม เป็นต้น 
  4. 4. ดื่มน้ำผลไม้คั้นสดแทนผลไม้สดได้ อาจใช้ การปั่นทั้งลูก เพื่อให้ได้ใยอาหาร 
  5. 5. ควรนำไขมันหรือเส้นใยที่เหนียวออกก่อน ประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ 
  6. 6. ควรใช้การฉีก สับ ปั่น บด หั่นอาหารเป็นชิ้น เล็ก เพื่อช่วยให้การเคี้ยวและการกลืนง่ายขึ้น โดยเฉพาะ อาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก เนื้อสัตว์ เป็นต้น 
  7. 7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะเหนียว เคี้ยวยาก หรืออาหารที่สามารถติดตามซอกฟันได้
  8. 8. หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อน แห้ง รสเค็ม รสเผ็ด รสเปรี้ยวหรือเป็นกรด เพื่อลดความระคายเคืองหรือ ความเจ็บปวดในช่องปาก 


     ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อภาวะโภชนาการได้ทั้งปัญหาการขาดสารอาหาร และ ภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้ เช่น โรคอ้วน  โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น  ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะชะลอหรือป้องกันได้จากการดูแลเอาใจใส่ ให้คำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหาร โดย ผู้สูงอายุมี ความต้องการอาหารเช่นเดียวกับวัยอื่น ๆ การรับประทาน อาหารต้องครบ 5 หมู่ทุกวัน แต่แตกต่างกันในด้านปริมาณ  อาหารที่ลดลง และลักษณะของอาหาร  การเลือกบริโภค  อาหารให้เหมาะสมกับวัย ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ร่วมกับการพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกายกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ  จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดโรค เรื้อรังต่าง ๆ ได้

     ดังนั้นอาหารทางการแพทย์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ   เป็นอาหารสำหรับใช้เป็นโภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้  ซึ่งในผู้ป่วยที่ร่างกายขาดพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นจากโรคหรือภาวะต่างๆ สิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและความต้องการอย่างเหมาะสมนั่นก็คืออาหารทางการแพทย์ ในปัจจุบันอาหารทางการแพทย์มีให้เลือกหลากหลายชนิดและมีหลากหลายสูตรเพื่อให้เลือกให้เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย  ที่ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร มีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐานตายตัว ให้คุณค่าและ สารอาหารที่แตกต่างกันออกไปโดยมีรายละเอียดของสารอาหารระบุไว้ที่ภาชนะบรรจุ  ปัจจุบันมีทั้งเป็นผงและของเหลว เช่น ISOCAL, MA-BEEDEE, ENSURE,GEN DM, Pan enteral, BOOT OPTMUM, BLENDERA-MF เป็นต้น  ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมุ่งเน้นให้ตรงกับความต้องการของร่างกายโดยเฉพาะ อาจจะอยู่ในรูปที่ใช้รับประทานหรือดื่มแทนอาหารหลักหรือในบางกรณีอาจดื่มเพื่อเป็นการเสริมอาหารบางมื้อและสำหรับใช้เป็นอาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยได้  สามารถใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้หรือผู้สูงอายุ  ซึ่งร่างกายมีความจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารเป็นประจำอยู่แล้ว  หากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอาจจะทำให้อาการป่วยแย่ลงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้  เพราะฉะนั้นอาหารทางการแพทย์สามารถนำมาชง ทำให้เป็นของเหลวเพื่อให้ไหลผ่านเข้าทางสายยางให้อาหารได้หรือชงดื่มก็ได้   ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  อาหารทางการแพทย์ยังสามารถใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับผู้ที่รับประทานหารเองได้แต่ได้รับปริมาณและพลังงานของสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเช่น ผู้สูงอายุที่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น  ภาวะเบื่ออาหาร รวมไปถึงปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร หรือมีปัญหาในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหารทำให้การรับประทานอาหารนั้นลดประสิทธิภาพลง  รวมไปถึงผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่สามารถรับประทานอาหารได้น้อย โดยแพทย์จะทำการพิจารณาให้ใช้อาหารทางการแพทย์เป็นอาหารเสริม สำหรับสร้างพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายทำให้การรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่อยากใช้อาหารทางการแพทย์หรือหาซื้ออาหารทางการแพทย์มารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาหารทางการแพทย์ส่วนใหญ่มีใยอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะฉะนั้นควรที่จะเลือกชนิด เลือกสูตร ให้ถูกต้องเพราะร่างกายของเรามีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งอาหารทางการแพทย์แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรได้รับคำแนะนำก่อนการซื้ออาหารทางการแพทย์มาใช้เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุลได้ อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ รวมไปถึงควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

     ผู้สูงอายุต้องการโปรตีนไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เนื่องจากความอยากอาหารน้อยลง ปริมาณที่กินได้น้อยลง และพลังงานจำกัด จึงต้องการโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ผู้ชราจำนวนไม่น้อยขาดโปรตีน เพราะเคี้ยวเนื้อสัตว์ไม่ได้หรือไม่ละเอียด ผู้ดูแลด้านอาหารควรเอาใจใส่ดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ

BACK