หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยฟอกเลือด ล้างไต (Kidney  Post-Dialysis  Nutrition) 

      ไตทำหน้าที่กรองของเสียและขับปัสสาวะ เพื่อกำจัดน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการผ่านทางท่อไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ นอกเหนือจากหน้าที่กำจัดของเสียแล้ว ไตยังมีหน้าที่ปรับสมดุลของน้ำและสารเคมี สร้างฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต   เมื่อเกิดภาวะไตวายจะทำให้ของเสียคั่งในร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถทนได้ ต้องบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต ผู้ป่วยควรพบแพทย์และใช้หลักการของอาหารบำบัดที่เหมาะสม
การล้างไตทางช่องท้อง
      เป็นวิธีที่อาศัยเยื่อบุช่องท้องช่วยกรองของเสียออกจากร่างกาย โดยการใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องทางสายพลาสติก  ที่แพทย์ได้ทำผ่าตัดฝังไว้ในช่องท้อง  ทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้องประมาณ 4-6 ชั่วโมง จากนั้นก็ปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องทิ้งไป  โดยทั่วไปจะทำการเปลี่ยนน้ำยาวันละ 4 ครั้ง   แต่การล้างไตด้วยวิธีนี้ทำให้มีการสูญเสียโปรตีนจำนวนมากออกมาทางน้ำยาในแต่ละวัน  และได้รับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติ (จากน้ำยาล้างท้องที่มีน้ำตาลสูง  โดยอาจจะมีกลูโคสถูกดูดซึมเข้าไปได้ถึง  500  กรัม/วัน  )     จะทำให้มีการผลิตไตรกลีเซอไรด์จากตับมากขึ้น ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน เกิดไขมันในเลือดสูงได้  ดังนั้นผู้ป่วยอาจเกิดภาวะขาดอาหารได้ถ้ากินอาหารไม่เพียงพอ   และเนื่องจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)  เพื่อลดการคั่งของน้ำและของเสีย ในระหว่างการฟอกเลือดจะทำให้สูญเสียโปรตีน  วิตามิน  และเกลือแร่หลายชนิด  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะโปรตีน  ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตอย่างถูกวิธี เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ  และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

              การล้างไต จะช่วยปรับสารน้ำ และอิเล็กโตรไลท์เกลือแร่ให้ปกติได้และอาการ uremic จะดีขึ้น แต่รอยโรคเดิมยังรุนแรงอยู่นั่น คือแผลยังหายช้า  , ติดเชื้อแรงอยู่ และเป็นสาเหตุการตายได้ การให้อาหารจะช่วยปรับสภาพโภชนาการให้รอระยะเวลาจนภาวะไตวายเฉียบพลันดีขึ้น  การล้างไตจะขับของเสียออกและช่วยให้การให้อาหารได้สมบูรณ์ล้างไตอาจทำโดย ฟอกเลือด ใช้น้ำล้างทาง ช่องท้อง (ล้างไต) หรือล้างตลอดเวลาโดยวิธี CRRT (continuous renal replacement therapy) หรือ CVVHD (continuous venovenous hemodiafiltration) CRRT ทำตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน  คนไข้ที่ไม่สามารถฟอกเลือดได้ ใช้ในผู้ป่วยหนัก

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยล้างไต

ผู้ป่วยที่ล้างไต มักจะต้องได้รับโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสม  กับช่วงระยะของอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  ซึ่งการรับประทานโภชนาการที่ดีและมีความเหมาะสมนั้น จะช่วยทำให้ลดอัตราการเจ็บป่วย ตลอดจนกระทั่งลดอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาหารสำหรับผู้ป่วยจะถูกจำกัดสารอาหารต่างๆตามระยะของโรค

 อาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยล้างไต  จะต้องจำกัดอิเล็กโทรไลต์และควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย

การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

  1. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 – 3 ต้องจำกัดโปรตีน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ

  2. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4 – 5 ต้องจำกัดและควบคุมอาหารมากขึ้น  ต้องระมัดระวังเรื่องฟอสเฟต และ โพแทสเซียม
  3. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต หลังจากที่ได้รับการปลูกถ่ายไต  จะต้องควบคุมอาหารเหมือนกับผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 – 3 ซึ่งจะต้องพิจารณาไตใหม่ด้วยว่า สามารถทำงานได้ดีหรือไม่

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตหลังจากล้างไตหรือทำการฟอกเลือด   ผู้ป่วยอาจจะรับประทานอาหารโปรด ตามใจผู้ป่วยได้บ้างแต่ต้องไม่มาก  เพราะจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารต่อไปเรื่อย ๆ  ถึงแม้ว่าจะทำการล้างไตแล้วก็ตาม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำให้การทำงานของไตกลับมาเป็นเช่นเดิมได้ทั้งหมด

 • อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตจากการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม   สามารถทำได้ในช่วงเวลา 8 – 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  สามารถกำจัดของเสียได้เพียง 6 – 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 • อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตจากการล้างไตทางด้านหน้าท้อง   ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน  วิธีนี้จะสามารถกำจัดของเสียได้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ของไตปกติ

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไต มีโอกาสขาดสารอาหาร

  1. โรคไต ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร

  2. การจำกัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ส่งผลทำให้เหลือแต่เมนูอาหารรสจืด และ มีเมนูอาหารน้อยลง  ทำให้ผู้ป่วยเบื่อที่จะรับประทานอาหาร และอยู่ในสภาวะเครียด
  3. มีการสูญเสียสารอาหารต่าง ๆ ไปกับการบำบัดไต  โดยเฉพาะโปรตีน
  4. ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อ จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียโปรตีนมากยิ่งขึ้น 

ผู้ป่วยล้างไตควรจำกัดอาหารอย่างไร?

            ทั้งหมดนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และ ผู้ป่วยโรคไตวายระยะต่าง ๆ ต้องทำการจำกัด และควบคุมเป็นพิเศษ เพื่อที่จะสามารถทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร พร้อมทั้งปริมาณน้ำที่เหมาะสม มีความสมดุลต่อร่างกาย ทั้งผู้ป่วยและญาติควรศึกษาและทำความเข้าใจ พร้อมทั้งควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย และ เพื่อเป็นการยืดอายุไตเอาไว้อย่างสูงสุดนั่นเอง

BACK