หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

เครื่องวัดความดัน (Blood Pressure Monitor)  

     เครื่องวัดความดันโลหิต หรือที่เรียกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันโลหิตประกอบด้วยผ้าพันแขนที่พองตัวเพื่อยุบตัวแล้วปล่อยหลอดเลือดแดงใต้ข้อมือในลักษณะควบคุมและปรอทหรือแอนรอยด์ manometer เพื่อวัดความดัน sphygmomanometers


    ความดันโลหิต คือ ค่าแรงดันเลือดที่วัดได้ ณ หลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งตำแหน่งที่ใช้วัดกันเป็นมาตรฐาน จะเป็นที่ต้นแขน สูงกว่าข้อพับบริเวณข้อศอกเล็กน้อย ความดันโลหิตจะสูงหรือต่ำ มีปัจจัยที่สำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ การบีบตัวของหัวใจ สภาพของหลอดเลือด และปริมาณของเลือด ค่าความดันโลหิต เวลาวัดจะมีตัวเลข 2 ค่า เรียกง่ายๆว่าเป็น ความดันตัวบน และความดันตัวล่าง ซึ่งความดันตัวบนมักเป็นผลจากการบีบตัวของหัวใจ ร่วมกับสภาพของหลอดเลือด แต่ความดันตัวล่าง จะขึ้นกับความยืดหยุ่นของหลอดเลือด แบบดิจิตอลเป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องมีหูฟังหรือลูกยางสำหรับบีบลมทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถพกพาได้ง่าย ข้อผิดพลาดน้อยเหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุสายตาและการได้ยินไม่ดี  แสดงผลเป็นตัวเลขที่หน้าจอพร้อม กับอัตราการเต้นของหัวใจ สายพันมีทั้งชนิดพันที่แขนและข้อมือ สามารถเรียกดูค่าเฉลี่ยย้อนหลังได้ และบันทึกข้อมูลได้อีกด้วย มีการแจ้งเตือนเมื่อวัดค่าได้ผิดปกติจากเกณฑ์มาตรฐาน

 

ปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันโลหิต 2 ชนิด ได้แก่

  1. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล (Non-invasive mechanical sphygmomanometers) มีการใช้งานร่วมกับหูฟัง (Stethoscope)  เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการวัดภายในสถานพยาบาล ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท (Mercurial manometer)  เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา (Aneroid manometer)  หรือเครื่องวัดความดันโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นดิจิตอล (digital display)
  2. เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ (Non-invasive automated sphygmomanometers) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติ เป็นดิจิตอล (digital display)  มีทั้งต้นแขนและแบบข้อมือ ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ หรือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ มาใช้เองภายในบ้าน



ค่าความดันปกติ 



การเลือกซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับใช้ที่บ้าน

ควรเลือกใช้ เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล เพราะสะดวกและใช้งานง่าย

สายรัดแขนสามารถใส่ได้ง่าย การเลือกเครื่องวัดความดันที่มีสายรัดแขน ซึ่งสวมใส่ได้ด้วยตนเอง
นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากทำให้ผู้วัดความดันสามารถทราบค่าความดันโลหิตของตนเองได้


มีความแม่นยำสูงความแม่นยำสูงจะทำให้การวินิจฉัยโรคของแพทย์เป็นไปอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยให้การรักษาโรคสะดวกและง่ายดายกว่าเดิม


เลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เช่น CE (European Conformity:CE) หรือเครื่องหมาย UL (Underwriters’ Laboratories :UL) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องมือนั้นได้รับการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภายุโรป    หรือตรวจสอบได้จากเครื่องหมาย มอก.มาตรฐานประเทศไทย เป็นต้น

คำแนะนำในการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต enlightened


     ไม่ควรวัดความดันทันทีหลังอาหารมื้อหลัก ควรห่างอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่หรือเครื่องก่อนทำการวัด ไม่ควรวัดขณะที่ร่างกายเหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือมีอารมณ์เครียด ถ้าใช้เครื่องวัดความดันที่ต้นแขน ให้วัดในท่านั่ง วางแขน และข้อศอกบนโต๊ะ จัดระดับให้ผ้าพันต้นแขน

เมื่อเครื่องวัดความดันโลหิต ดิจิตอล แสดงผล ตัวเลขแบบไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ?


❀ ตัวเลขตัวบน เป็นค่าความดันของกระแสเลือด ขณะหัวใจบีบตัว ค่าตัวเลขตัวบน ที่เหมาะสม ควรน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท (แต่ไม่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท)


❀ ตัวเลขตัวล่าง เป็นค่าความดันของกระแสเลือด ขณะหัวใจคลายตัว ค่าตัวเลขตัวล่าง ที่เหมาะสม ควรน้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท (แต่ไม่น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท)

โรคร้ายที่มาพร้อมกับความดันที่ผิดปกติ surprise


❀ โรคหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หรือที่เรียกว่า อาการ Stroke สาเหตุหลักของการเป็น อัมพฤกษ์ – อัมพาต


❀ โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต เกิดจากการที่ความดันสูง ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก ส่งผลให้เหนื่อยง่าย อาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้


❀ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย มีอาการเจ็บหน้าอก ช็อก หรือหัวใจวายได้


❀ โรคไตเรื้อรัง ไตวาย ไตเสื่อม เนื่องจากไต สูญเสียความสามารถ ในการทำงาน ซึ่งเกิดมาจาก ความดันโลหิตสูง

วิธีดูแลตนเอง ให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิต yes


❀ พยายามไม่เครียด ดูแลสุขภาพจิต ของตนเองให้ดี อย่างสม่ำเสมอ


❀ ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน


❀ หลีกเลี่ยง การกินอาหาร เค็ม หวาน มัน


❀ กินยาที่แพทย์จ่ายให้ ตามคำสั่งแพทย์ อย่างเคร่งครัด


❀ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ


❀ งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดทุกชนิด


❀ หมั่นตรวจเช็ก ค่าความดัน ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อควบคุม ให้ค่าความดัน เป็นปกติอยู่เสมอ

BACK