หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ถุงมือทางการแพทย์ (Examination Glove) 


     ถุงมือทางการแพทย์ (Examination Glove) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ใส่เพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคล เหมาะสำหรับโรงพยาบาล คลินิก ห้องแล็ป โรงแรม ร้านเสริมสวย อุตสาหกรรม หรืองานทำความสะอาด เนื่องจากตัวถุงมือมีความบาง และใส่ได้กระชับมือ ยืดหยุ่นได้ดีกว่าถุงมือยางชนิดอื่น ใส่เพื่อป้องกันสารเคมี ป้องกันเชื้อโรค และสารละลายต่างๆ  ถุงมือแพทย์เป็นถุงมือที่ใช้แล้วทิ้งในระหว่างการตรวจทางการแพทย์และขั้นตอนเพื่อช่วยป้องกันการปนเปื้อนระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย ถุงมือแพทย์ทำจากโพลีเมอร์ชนิดต่าง ๆ รวมถึงน้ำยาง, ยางไนไตรล์, โพลิไวนิลคลอไรด์และนีโอพรีน; พวกเขาไม่แป้งหรือแป้งข้าวโพดเพื่อหล่อลื่นถุงมือทำให้ง่ายต่อการสวมใส่

 

ถุงมือยาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ enlightened

  1. 1) ถุงมือยางธรรมชาติ ซึ่งเหมาะกับงานซักล้างทั่วไปในครัวเรือน งานเกษตร รวมถึงงานช่างที่ต้องเจอกับเคมีภัณฑ์ต่างๆ ถ้าต้องการเลือกซื้อถุงมือสำหรับการใช้งานในบ้านหรืองานเกษตร ควรเลือกซื้อถุงมือยางที่มีความหนาแบบชนิดพิเศษ สามารถป้องกันมือของเราได้เป็นอย่างดีในขณะที่ต้องใช้ทำงานบ้านหรืองานเกษตร
  1. 2) ถุงมือยางสังเคราะห์ เหมาะสำหรับงานที่ต้องใกล้ชิดกับสารเคมีอันตราย กรด น้ำมัน ถุงมือที่ใช้ในการแพทย์ ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายเกรด เพื่อให้เหมาะกับงาน การเลือกซื้อถุงมือยางสำหรับงานเกี่ยวกับการแพทย์ จะนิยมใช้ถุงมือยางแบบบางและกระชับ ซึ่งถุงมือยางแบบนี้จะผลิตเพื่องานสำหรับการแพทย์โดยเฉพาะ

 

ถุงมือยาง เหมาะกับการใช้งานไหนบ้าง enlightened


ถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) จะมีลักษณะบาง กระชับ ยืดหยุ่นได้ดีกว่าถุงมือยางชนิดอื่น แบ่งได้ 2 ชนิด

 

ถุงมือทางการแพทย์ แบบมีแป้งและไม่มีแป้ง yes


 ถุงมือยางสังเคราะห์ทางการแพทย์ ถูกแบบมาให้ป้องกันสิ่งสกปรก เชื้อโรค ทำงานได้ดี กระชับ ยืดหยุ่น เหมาะกับการใช้ในโรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาล ห้องปฏิบัติการ อุตสาหกรรมอาหาร และงานทั่วไป ใช้งานอย่างกว้างขวาง หาซื้อง่ายในร้านขายยา

 

ข้อดีของถุงมือแพทย์แบบมีแป้ง

แป้งช่วยดูดซับความชื้นในถุงมือ ทำงานสะดวก ไม่อึดอัด มีสารหล่อลื่นทำงานสะดวก

✿ แป้งในถุงมือ ส่วนใหญ่มาจากแป้งข้าวโพดที่ใช้ในการทำอาหาร จึงไม่มีอันตรายและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้

✿ ส่วนใหญ่ราคาถูกกว่าแบบไม่มีแป้ง เพราะผลิตได้ง่ายกว่า ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

 

ข้อดีถุงมือทางการแพทย์แบบไม่มีแป้ง

✿ เนื่องจากไม่มีแป้ง คนที่มีอาการแพ้แป้งจึงสามารถใช้งานได้ ใส่สบาย

✿ มีความเหนียว ทนทาน กว่าแบบมีแป้งเล็กน้อย

✿ นำมาล้างทำความสะอาดด้วยคลอรีนความเข้มข้นสูงได้

✿ ข้อเสีย คือ ราคาสูงกว่าแบบมีแป้ง เพราะผลิตมาให้ทนทานกว่า

✿ ซื้อ ถุงมือยางที่ใช้ทางการแพทย์ ถุงมือยางใช้ตรวจโรคทั่วไปที่ไม่ปลอดเชื้อ และปลอดเชื้อใช้ในห้องผ่าตัด ใส่สบาย ราคาไม่แพง 

การเลือกซื้อถุงมือแพทย์ให้เหมาะกับงาน enlightened


     ในรอบสามสี่ปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้แพ้ถุงมือยาง หรือถุงมือแพทย์มากขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีการให้ถุงมือแพทย์เพิ่มขึ้น หรืออาจเพราะมีการผลิตถุงมือหลายแห่ง และผู้ผลิตแต่ละแห่งก็มีกระบวนการผลิตที่แต่ต่างกัน แม้จะคล้ายกันอยู่มากก็ตาม อาการแพ้ถุงมือมีลักษณะแตกต่างกันหลายระดับ จากมากไปน้อย

ʕ·ᴥ·ʔ หากผู้ใช้ สวมใส่แล้ว ไม่มีอาการแพ้ใดๆเกิดขึ้น : ก็สามารถเลือกซื้อถุงมือแพทย์ชนิดมีแป้ง (powder) ชนิดไม่มีแป้ง (Powder Free) หรือถุงมือไนไตร (ถุงมือยางไนไตร)

ʕ·ᴥ·ʔ หากผู้ใช้ สวมใส่แล้ว มีอาการแพ้แป้งในถุงมือแพทย์ : ก็ควรเลือกซื้อถุงมือแพทย์ชนิดไม่มีแป้ง (Powder Free) หรือถุงมือไนไตร (ถุงมือยางไนไตร)

ʕ·ᴥ·ʔ หากผู้ใช้ สวมใส่แล้ว มีอาการแพ้โปรตีนในถุงมือแพทย์ : ก็ควรเลือกซื้อถุงมือไนไตร (ถุงมือยางไนไตร)

ʕ·ᴥ·ʔ หากใช้งานทั่วไป : ก็สามารถเลือกซื้อถุงมือแพทย์ชนิดมีแป้ง (powder) ชนิดไม่มีแป้ง (Powder Free) หรือถุงมือไนไตร (ถุงมือยางไนไตร)

ʕ·ᴥ·ʔ หากใช้งานที่ต้องการความสะอาดระดับหนึ่ง : ก็ควรเลือกซื้อถุงมือแพทย์ชนิดไม่มีแป้ง (Powder Free) หรือถุงมือไนไตร (ถุงมือยางไนไตร)

ʕ·ᴥ·ʔ หากใช้งานที่หนัก สัมผัสกับสารเคมีจำพวก กรด เบส แอลกอฮอล์ น้ำมันต่างๆ : ก็ควรเลือกซื้อถุงมือไนไตร (ถุงมือยางไนไตร) เนื่องจากถุงมือแพทย์จากยางธรรมชาติจะละลาย (คุณจะรู้สึกว่ามันเหนียวๆ) ทันทีที่สัมผัสกับสารเหล่านี้

นอกจากปัจจัยเรื่องการแพ้ และการใช้งานแล้ว ก็มีปัจจัยอื่นที่ควรนำมาพิจารณาด้วยดังนี้ yes


✿ หากต้องการถุงมือที่ป้องกันการรั่วได้ดี (lower leakage rates) ก็ควรเลือกซื้อถุงมือแพทย์: หรือไนไตร (ไม่ควรใช้ถุงมือไวนิล เพราะมีอัตราการรั่วสูงกว่า)


✿ หากต้องการถุงมือที่สวมใส่แล้วทำงานได้คล่องตัว : ก็ควรเลือกซื้อถุงมือแพทย์ เพราะถุงมือไนไตรมีความแข็งแรงสูงกว่าถุงมือแพทย์ จึงหยืดหยุ่นน้อยกว่า การคล่องตัวในการทำงานจะสู้ถุงมือแพทย์ไม่ได้ (อันนี้พูดถึงที่ความหนาเท่ากันนะครับ หากถุงมือไนไตรบางกว่า ก็อาจทำงานได้ดีเกือบๆเท่าถุงมือแพทย์ทีเดียว)

BACK