หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อุปกรณ์ประคองคอ (Cervical Collar)

     อุปกรณ์ประคองคอ (Cervical collar) คือ ปลอกคอที่ทำด้วยพลาสติกแข็งและทำด้วยผ้ายืดหุ้มฟองน้ำ ส่วนชนิดแข็งมีทั้ง ชนิดที่มีและไม่มีร่องรองรับส่วนคาง การดูแลผู้ป่วยที่ใส่ปลอกคอเป็นการใส่ปลอกคอ อุปกรณ์ประคองคอ (Cervical collar) ให้ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่กระดูกสัน หลังระดับคอ  เป็นเฝือกคอชนิดอ่อน ใส่นุ่มสบาย ไม่อึดอัด ใช้เพื่อช่วยศีรษะและกระดูกคอให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง ใช้พยุงคอผู้ที่มาอาการปวด เจ็บ กล้ามเนื้อที่คอ ผู้ที่มาอาการบาดเจ็บกระดูกที่คอ และลดการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกคอ

 

อุปกรณ์ประคองคอมีกี่ชนิด  3 ชนิด enlightened

  1. 1) ชนิดแข็ง ( CERVICAL HARD COLLAR) ทำด้วยพลาสติกซ้อนกัน2ชั้น มีขนาดต่างๆ กัน สามารถปรับได้เพื่อให้เหมาะกับความสูงของคอผู้ป่วยในแต่ละคน
  1. 2) ชนิดอ่อน (CERVICAL SOFT COLLAR) ทำด้วยฟองน้ำ หุ้มด้วยผ้ายืดให้ความกระชับดีกว่า เพราะขณะใช้จะรัดติดแน่นกับคอโดยรอบ ทำให้การระบายอากาศไม่ดีพอ
  1. 3) ชนิดค้้ำ 4 ขำ (Four Poster Cervical Brace) ทำด้วยแผ่นโลหะ ซึ่งเป็นอลูมิเนียมเหล็ก หรือพลาสติกและหนัง ใช้ค้ำศีรษะ และประคองคอให้อยู่ในลักษณะที่ดี และมีความมั่นคงมากกว่าเครื่องพยุงคอชนิดแข็งและชนิดอ่อน

 


วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ประคองคอ yes

ชนิดแข็ง ทำความสะอาดโดยน้ำไปล้างด้วยสบู่หรือผงซักฟอกและล้างด้วยน้ำให้สะอาดเช็ดหรือตากให้แห้ง

✿ ชนิดอ่อน ซักทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอก และล้างด้วยน้ำสะอาด บีบน้ำออกให้หมดแล้วตากให้แห้ง

✿ ชนิดค้้ำ 4 ขา เช็ดทำความสะอาดตามปกติ

 

ข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์ประคองคอ ⚡ 


สำหรับผู้ป่วยจะใช้เครื่องพยุงคอชนิดใดนั้นจะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากอาการและโรคของผู้ป่วย

 

ระยะเวลาในการใส่อุปกรณ์ประคองคอ 


     โดยทั่วไปแพทย์จะใส่เครื่องพยุงคออยู่นานประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะใส่เฉพาะเวลาลุก นั่ง ยืน หรือเดินเท่านั้น ขณะนอนไม่จำเป็นต้องใส่ ยกเว้นในรายที่มีอาการเจ็บเฉียบพลัน ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะอธิบายให้ทราบเป็นรายๆ ไป

 

วิธีใส่อุปกรณ์ประคองคอ

✿ ในกรณีที่แพทย์ยังไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยลุกนั่งให้ผู้ป่วยนอนราบ ค่อยๆ สอดเครื่องพยุงคอให้กระชับกับลำคอด้านหน้า โดยให้ส่วนที่รองรับคางไปอยู่ตรงกลางพอดี แล้วนำปลายที่ประคองคอมาติดกัน

✿ ในกรณีที่ป่วยลุกนั่งได้ ให้ใส่ขณะที่อยู่ในท่านั่ง

✿ ที่ประคองคอชนิดค้ำ 4 ขา ควรมีผู้ช่วยเหลือในการใส่ โดยใส่ให้กระชับและควรสวมเสื้อก่อนใส่ เพื่อไม่ให้แกนอลูมิเนียมกดทับหนังโดยตรง

ขั้นตอนการใส่ อุปรณ์ประคองคอแบบเจาะคอ Philadelphia collar มีอะไรบ้าง

1) Philadelphia collar เป็นชนิดที่มีสองส่วนคือส่วนหน้าและส่วนหลัง โดยมีค าว่า “Front” และ คำว่า “Back” ก ากับไว้ แต่ละส่วนจะมีลูกศรชี้ขึ้นเพื่อให้วางรับกับคาง(Front)และด้านหลังของศีรษะผู้ป่วย(Back)

2) เลือกขนาดของ Philadelphia collar (small, medium, large) ให้เหมาะสมกับขนาดของผู้ป่วย

3) ก่อนทำการใส่ปลอกคอ แพทย์ควร มีผู้ช่วยเพื่อให้ผู้ช่วยประคองด้านข้างของศีรษะผู้ป่วยไว้เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวระหว่างการใส่ Philadelphia collar

4) ผู้ช่วยอีกคนหนึ่งสอด Philadelphia collar ส่วนหลังไปใต้คอของผู้ป่วยโดยมีผู้ช่วยอีกคนคอยรับและดึง collar

5) จัดให้Philadelphia collar ส่วนหลัง(Back)อยู่พอดีกับด้านหลังของส่วนคอของผู้ป่วย

6) ใส่ Philadelphia collar ส่วนหน้า(Front)ให้คร่อมส่วนหลังเพื่อให้ส่วน Velcro มีพื้นที่ในการติดมากที่สุดเพื่อให้ Philadelphia collar มีความกระชับมากที่สุด

 

หลักการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บไขสันหลังส่วนคอ enlightened


การใส่ Philadelphia collar ที่มีขนาดพอดีไม่หลวมหรือแน่นเกินไป เพื่อระมัดระวังไม่ให้กระดูกคอเคลื่อน เพื่อการจำกัดการเคลื่อนไหวและเป็นการควบคุมแนวของกระดูกสันหลัง จนบริเวณที่กระดูกหักติดเข้าที่

 

วิธีการวัด อุปรณ์ประคองคอ Philadelphia collar


     จัดท่าผู้บาดผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่าตรง ไม่ก้มหรือเงยคอ หากผู้บาดเจ็บนอนคว่ำอยู่ต้องพลิกให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายก่อนทุกครั้งใช้นิ้ววางทาบวัดความสูงจากบ่าจนถึงปลายคางของผู้บาดเจ็บแล้วนำระยะที่วัดได้ (จำนวนนิ้ว) เทียบกับขนาดของเฝือกคอ โดยด้านบนให้นิ้ววางบริเวณลูกศรที่เขียนว่า “SIZING GUIDE” นิ้วล่างวางให้พอดีขอบพลาสติก (ไม่ใช่โฟม) ของเฝือกคอบริเวณที่จะวางบนบ่าของผู้บาดเจ็บเลือกขนาดที่ใกล้เคียงที่สุด หากวัดขนาดแล้วความสูงที่ได้คาบเกี่ยวอยู่ระหว่างสองขนาด ให้เลือกขนาดที่เล็กกว่าก่อน

 

การประเมินการบาดเจ็บไขสันหลัง 


     การซักประวัติ ผู้บาดเจ็บทุกรายให้สงสัยไว้ก่อนว่ามีบาดเจ็บของกระดูกคอจึงต้อง ป้องกันโดยใส่ Philadelphia collar ไว้ทุกรายจนกว่าจะวินิจฉัยได้ว่าไม่มีบาดเจ็บแล้วจึงถอดออก อุบัติเหตุและประวัติใดที่สงสัยว่าบาดเจ็บไขสันหลัง ต้องใส่อุปรณ์พยุงคอแบบเจาะคอ Philadelphia Collar

ปวดตึงต้นคอ หรือความรู้สึกที่แขน ขาลดลง

✿ ปวดหลังหรือปวดตามแนวกึ่งกลางหลัง จะปวดมากขึ้นถ้าร่างกายมีการ 

✿ เคลื่อนไหวเช่น ขยับตัว บางรายอาจบ่นรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งตามตัวและแขนขา

✿ ความดันโลหิตต่ำร่วมกับชีพจรช้า

✿ มีบาดเจ็บเหนือกระดูกไหปลาร้าหรือมีบาดเจ็บที่ใบหน้าอย่างรุนแรง

✿ ตกจากที่สูงมากกว่า 3 เท่าของความสูงของผู้ป่วยหรือสูงมากกว่า 6 เมตร

✿ ตกจากที่สูงในแนวดิ่ง เช่น มีกระดูกส้นเท้าหักหรือก้นกระแทกพื้นหรือ

✿ อุบัติเหตุขณะดำน้ำหรือว่ายน้ำ

✿ กระเด็นออกนอกยานพาหนะ เช่น รถยนต์มอเตอร์ไซค์หรือนั่งในรถยนต์โดย

✿ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

✿ ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ทรวงอกและภายในช่องท้อง

✿ ให้ประวัติควบคุมปัสสาวะไม่ได้หลังบาดเจ็บ

✿ ได้รับบาดเจ็บจากการแขวนคอ(hanging)

 

 

BACK