หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อุปกรณ์ประคองนิ้วโป้งเท้า (Toe Separator)  


     อุปกรณ์ประคองนิ้วโป้งเท้า เหมาะสำหรับผู้ที่มีนิ้วโป้งเท้าเก ขนาดบรรจุ 1 คู่ วัสดุทำจากซิลิโคนเนื้อนิ่ม ภาวะนิ้วเท้าโป้งเก (Hallux valgus) หรือตาปลาที่นิ้วเท้า (Bunions) คือภาวะการนูนออกของข้อนิ้วโป้ง เท้าด้านในร่วมกับนิ้วโป้งเท้าเริ่มเกออกไปด้านนอก โดยก้อนนูนนี้จะมีความไว(ปวด) ต่อแรงกดดันและการเสียดสีจากรองเท้าที่สวมใส่ ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขในเบื้องต้นคือการใส่อุปกรณ์ประคองนิ้วเท้าเพื่อลดการเสียดสีของนิ้วเท้า

อุปกรณ์ประคองนิ้โป้งเท้า คืออะไร enlightened
 


นิ้วโป้งเท้าเอียงสาเหตุ ⚡
 

โรคนิ้วโป้งเท้าเอียง เกิดจาก กระดูกฝ่าเท้าเอียงเข้าใน และกระดูกนิ้วโป้งเท้าเอียงออกด้านนอกไปทางนิ้วเท้านิ้วที่สอง ทำให้นิ้วโป้งเท้าดูเอียงผิดรูป และโคนนิ้วโป้งเท้าตุ่ยออกมาได้ครับ

✿ โคนนิ้วหัวแม่เท้าที่ดูตุ่ยๆออกมา อาจมีกระดูกงอกหรือไม่มีก็ได้นะครับ เนื่องจากนิ้วโป้งเท้าที่เอียงผิดรูปออกด้านนอก ทำให้เห็นกระดูกตุ่ยๆออกมาโดยไม่มีกระดูกงอกก็ได้

✿ นิ้วโป้งเท้าเอียงถ้าปล่อยไว้โรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไปครับ เริ่มแรกนิ้วโป้งเท้าจะเอียงน้อยๆก่อน มีกระดูกโคนนิ้วตุ่ยๆไม่มาก แต่ถ้าปล่อยไว้นาน

✿ ใส่รองเท้าไม่เข้ากับเท้า เช่น รองเท้าคับเกินไป รองเท้าหน้าแคบเกินไป รองเท้าส้นสูงทำให้ขณะยืนเดิน น้ำหนักจะถ่ายมาหน้าเท้ามากก็ทำให้นิ้วโป้งเท้าเอียงได้

✿ กรรมพันธุ์ ทำให้ทรงเท้าของเราเกิดนิ้วโป้งเท้าเอียงได้ง่ายขึ้น

✿ โรคประจำตัว เช่นรูมาตอยด์ หรือโรคโปลิโอ ก็ทำให้เกิดนิ้วโป้งเท้าเอียงได้

อาการของโรคนิ้วโป้งเท้าเอียง

✿ มีนิ้วโป้งเท้าเอียงออกด้านนอก และมีกระดูกตุ่ยๆบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า

✿ ปวดบวมบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า

✿ แดงอักเสบที่โคนนิ้วหัวแม่เท้า

✿ ผิวหนังบริเวณโคนนิ้วโป้งเท้ามีลักษณะหนาแข็ง

✿ ขยับนิ้วหัวแม่เท้าแล้วเจ็บ ฝืด ส่งผลให้เดินลำบาก เดินแล้วเจ็บ (ถ้ามีอาการนี้อาจจะมีภาวะข้อนิ้วโป้งเท้าเสื่อมร่วมด้วยนะครับ)
 


นอกจากบริเวณนิ้วโป้งเท้า อาการบริเวณอื่นๆในเท้าที่พบร่วม ได้แก่

✿ ฝ่าเท้าบริเวณใต้นิ้วเท้าที่สองมีหนังแข็งๆเกิดขึ้น กดเจ็บ

✿ นิ้วโป้งเท้าเอียงมาเบียดนิ้วเท้าที่สองจนเป็นแผล หรือนิ้วโป้งเท้าเอียงมาทับด้านบนหรือด้านใต้นิ้วเท้าที่สองเท้าแบน

✿ เจ็บหลังเท้าบริเวณกลางเท้า ถ้ามีอาการนี้อาจจะมีภาวะข้อกลางเท้าเสื่อมร่วมด้วยนะ โดยเฉพาะถ้าเรายังใส่รองเท้าที่คับๆ หัวแคบๆ ส้นสูงๆ อยู่บ่อยๆ นิ้วโป้งเท้าก็จะเกมากขึ้นๆได้ ทำให้มีอาการเจ็บ โคนนิ้วอักเสบและเดินลำบากในเวลาต่อมา
 


การใช้อุปกรณ์ประคองนิ้วโป้งเท้า yes

✿ ถ้าท่านมีนิ้วโป้งเท้าเอียง ให้ดูว่ามีอาการที่ทำให้ไม่สบายเท้าหรือไม่ เช่น มีปวดบริเวณกระดูกตุ่ยๆที่โคนนิ้วโป้งเท้า มีอาการเดินเจ็บ หรือมีชานิ้วเท้าหรือไม่  

✿ ถ้าไม่มีอาการ มีแค่นิ้วโป้งเท้าเอียง การรักษาควรจะเป็นการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมตามที่กล่าวไปก็พอครับ ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ที่ประคองอะไรเลย

✿ นิ้วโป้งเท้าเอียงที่ประคอง นิ้วโป้งเท้าเกที่ประคอง ถ้ามีอาการปวดบริเวณกระดูกตุ่ยๆที่โคนนิ้วโป้งเท้าเท้า หรือมีกระดูกงอกและมีอาการเจ็บ อักเสบ จากการถูกรองเท้าบีบ หรือเจ็บจากการถูกรองเท้าเสียดสี ถ้าหารองเท้าใส่ไม่พอดีสักที ควรเลือกใช้ที่ประคองชนิดที่มีซิลิโคนหุ้มที่โคนนิ้วโป้งเท้าครับ แต่ถ้ามีอาการจากนิ้วโป้งเท้าเกแล้วไปเบียดนิ้วเท้าที่สอง จนมีอาการต่างๆ เช่น เจ็บ มีแผลกดทับที่ง่ามนิ้ว หรือนิ้วหัวแม่เท้าไปเบียดนิ้วเท้าที่สองจนผิดรูป ควรใช้ที่ประคองนิ้วชนิดที่มีที่คั่นนิ้วนะครับ

แนวทางการรักษา


การรักษาสามารถทำได้ทั้งการรักษาที่ต้นเหตุ การรักษาที่ปลายเหตุ และ การรักษาของที่ต้นเหตุและปลายเหตุควบคู่กัน ทั้งนี้จำเป็นต้องคุยถึงแผนการรักษากับผู้ป่วยก่อนล่วงหน้า ถึงข้อดีข้อเสียในแต่ละแบบการรักษา การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ 

  1. 1.) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ข้อผิดรูปไม่มาก สามารถดึงหรือดันแก้ไขได้ ไม่มีข้อเสื่อม
  1. 2.) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก แต่การผ่าตัดอาจเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม หรือ การฟื้นตัวหลังการผ่าตัดต้องใช้เวลานานจนเป็นผลเสียต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้แก่ผู้สูงอายุเป็นต้น

การรักษา 


     การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้แก่ การทำแผ่นรองในรองเท้าเฉพาะเท้าของผู้ป่วย การใส่รองเท้าที่เหมาะสม และ การใส่อุปกรณ์ประคองข้อนิ้วโป้งเท้า ซึ่งถือเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เนื่องจากสามารถสืบหาต้นเหตุและความเสี่ยงของการที่มีภาวะนิ้วโป้งเท้าเก


✿ แผ่นรองเท้าเฉพาะบุคคล (Custom-made Insole) – เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยจัดโครงสร้างเท้าให้เหมาะสมกลับมาอยู่ในแนวที่ปกติ เพื่อไม่ให้อุ้งเท้าแบนล้ม กระดูกส้นเท้าบิดล้มเข้าทางฝั่งด้านใน หรือ เอ็นร้อยหวายบิดโค้งเค้าทางฝั่งด้านใน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ปัจจัยที่จะทำให้นิ้วโป้งเท้าเก

✿ ใส่รองเท้าที่เหมาะสม – ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ หัวรองเท้ากว้าง (wide toe box) เมื่อสมใส่แล้วสามารถขยับนิ้วเท้าได้ ไม่บีบรัดนิ้วเท้า พื้นรองเท้านุ่ม ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีหัวส่วนปลายที่แหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2 นิ้ว

✿ การใส่อุปกรณ์ประคองนิ้วโป้งเท้า ได้แก่ เจลคั่นนิ้วเท้า (Gel Toe Separator) หรือ อุปกรณ์กันนิ้วโป้งเบน  (Hullux Valgus Splint) จะช่วยให้มุมในการที่นิ้วโป้งเท้าเก ไม่เพิ่มมากไปกว่าเดิม และเป็นการทำให้เอ็นรอบข้อนิ้วโป้งเท้าหย่อน จึงบรรเทาและลดอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้งเท้าได้

BACK