หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อุปกรณ์ล้างจมูก (Nasal  Rinsing  System)  

           อุปกรณ์ล้างจมูก ที่ล้างจมูก   ในวันเวลาที่เราทุกคนต้องเผชิญกับฝุ่นควัน  มลภาวะบนท้องถนน  เชื้อโรค  สารก่อภูมิแพ้มากมาย  การล้างจมูกด้วยอุปกรณ์ล้างจมูก  สะดวก  ง่าย ไม่น่ากลัว เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย  แนะนำว่าควรทำเป็นกิจวัตรประจำวัน  การล้างจมูก คือ การสวนล้างโพรงจมูก ด้วยน้ำเกลือ เพื่อชะล้างน้ำมูกและสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้น ช่วยลดอาการน้ำมูกไหลลงคอ จาม และอาการคัดจมูก บรรเทาอาการในผู้ที่มีอาการเยื่อจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (Non-allergic Rhinitis)และผู้ที่มีอาการเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น(ความเข้มข้นของน้ำเกลือที่แนะนำ คือ Sodium Chloride 0.9%

การล้างจมูกเหมาะกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และสามารถล้างได้เป็นประจำทุกวัน เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของโพรงจมูก นอกจากนี้การล้างจมูกยังมีประโยชน์กับผู้ป่วย ในกลุ่มต่างดังต่อไปนี้

ประโชน์ของการล้างจมูก

yes หายใจโล่งโปร่งสบาย เพราะการล้างจมูกะช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่สะดวก คัดแน่นจมูกจากอาการหวัด
yes ลดความเสี่ยงจากโรคร้าย เพราะช่วยชะล้างสิ่งแปลกปลอมทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้ จึงช่วยป้องกัน และลดโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
yes​​​​​​​ หายป่วยง่ายไม่ต้องรักษานาน ช่วยบรรเทาอาการหวัดไซนัสอักเสบ รวมถึงภูมิแพ้อากาศจึงช่วยลดระยะเวลาในการรักษาได้
yes​​​​​​​ สบายใจช่วยลดการใช้ยา ช่วยลดปริมาณการใช้ยาในการรักษา โรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดแน่นจมูก เป็นต้น
yes​​​​​​​ รู้สึกสดชื่น ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นภายในโพรงจมูก ลดอาการจมูกแห้ง

 

อุปกรณ์ล้างจมูก

โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างจมูก ประกอบด้วย น้ำเกลือ 0.9% กระบอกฉีดยา ถ้วย/แก้วสำหรับใส่น้ำเกลือที่ยังไม่ใช้ ถ้วย/แก้วสำหรับใส่น้ำเกลือที่ล้างจมูกแล้ว   

 

ขั้นตอนการล้างจมูก

  1. อุ่นน้ำเกลือก่อนการล้างจมูกให้มีอุณหภูมิพอเหมาะกับเยื่อบุจมูก การใช้น้ำเกลือที่ไม่ได้อุ่นล้างจมูก อาจทำให้เกิดการคัดจมูกหลังการล้างได้
        
  2. ควรล้างจมูกบนโต๊ะและเตรียมภาชนะมารองรับน้ำเกลือหลังล้างด้วย
                
  3. ใช้กระบอกฉีดยา ที่แพทย์จ่ายให้ ดูดน้ำเกลือที่อุ่นได้ที่แล้วในปริมาณน้อย ๆ ก่อน ในผู้ใหญ่ประมาณ10-15 ซีซี ในเด็กประมาณ 5 ซีซี
     
  4. นั่งโน้มตัวไปข้างหน้า ก้มหน้าเล็กน้อย เริ่มล้างจมูกข้างที่มีอาการคัดจมูกน้อยกว่า
     
  5. นำปลายกระบอกฉีดยา ใส่เข้าไปในจมูกข้างที่จะล้างเล็กน้อย อ้าปากไว้ แล้วหายใจเข้าเต็มที่ และกลั้นหายใจไว้
     
  6. ดันกระบอกสูบของกระบอกฉีดยา เบา ๆ ให้น้ำเกลือไหลเข้าไปในจมูกช้าๆ
     
  7. หลังจากล้างเสร็จ สั่งน้ำมูก หรือน้ำเกลือที่คั่งค้างอยู่ในโพรงจมูกออก
     
  8. ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หรือ น้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำประปาจนสะอาด(ในกรณีที่ใช้กระบอกฉีดยาที่ทำจากแก้ว  หลังจากล้างแล้วควรนำมาต้มกับน้ำเดือด ประมาณ 5 นาทีแล้วผึ่งให้แห้ง)

ข้อควรระวังในการล้างจมูก

การล้างจมูกแต่ละครั้งนั้น ควรล้างจนกว่าจะรู้สึกว่าจมูกโล่ง  ไม่มีน้ำมูกหรือสิ่งสกปรกอะไรคั่งค้างในจมูก ใช้น้ำเกลือฆ่าเชื้อนอร์มาลซาไลน์ 0.9% (Normal saline 0.9%/ NSS 0.9%) เท่านั้น ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล (Glucose) ก่อนซื้อ ควรอ่านฉลาก และวันหมดอายุ ให้ละเอียด

  1. ควรใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ

การล้างจมูก ควรใช้น้ำเกลือ 0.9% Sodium Chloride ชนิดปราศจากเชื้อเพื่อความปลอดภัย ป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อนโดยเฉพาะในไซนัส และความเข้มข้นขนาดนี้จะไม่ระคายเคืองโพรงจมูก

  1. ห้ามใช้ น้ำเปล่าล้างโพรงจมูก
    เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย หากใช้น้ำเปล่าจะทำให้เกิดอาการสำลัก และแสบในโพรงจมูก รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้
  2. ไม่ควรฉีดน้ำเกลือแรง
    การฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรงๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้
  3. สั่งน้ำมูกเบาๆ
    หลังการล้างจมูก ควรสั่งน้ำมูกและเช็ดจมูกเบาๆ การสั่งน้ำมูกแรงๆ นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อโพรงจมูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูอักเสบได้ ขณะสั่งน้ำมูกไม่ควรอุดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ควรสั่งพร้อมๆกันทั้ง 2 ข้าง
  4. การใช้ยาพ่นจมูก
    หากต้องใช้ยาพ่นหลังล้างจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงค่อยพ่นยา
  5. ผู้ที่รูจมูกอุดตัน
    หากมีรูจมูกอุดตันด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการล้างจมูก
  6. การล้างจมูกในเด็ก
    การล้างจมูกในเด็กสามารถทำได้อย่างปลอดภัยตามแนะนำของแพทย์ และควรใช้อุปกรณ์ล้างจมูกที่เหมาะสำหรับเด็ก ควรล้างจมูกก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มนม เพื่อป้องกันการสำลัก สำหรับเด็กเล็ก (เด็กที่สั่งน้ำมูก หรือกลั้นหายใจไม่เป็น) ไม่แนะนำล้างโพรงจมูก แต่หากมีน้ำมูกให้ใช้วิธีหยดน้ำเกลือที่รูจมูก ข้างละ 2 หยด เพื่อช่วยให้น้ำมูกมีความข้นเหนียวลดลง หลังจากนั้นค่อยใช้ลูกยางแดง ดูดทั้งน้ำมูกและน้ำเกลือออกทันที

 

ควรล้างจมูกบ่อยแค่ไหน

จำนวนครั้งที่ล้างจมูก ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการล้างจมูก

BACK