หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยไขมันสูง (HyperLipidemia Nutrition)

         คือภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เรียกว่า Hyperlipidemia เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  ดังนั้นอาหารทางการแพทย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการลดปริมาณอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงและอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง สามารถใช้เป็นอาหารมื้อทดแทนหรือมื้อหลักได้

สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง

    1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง

    2. การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น

    3. การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ

    -การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดที่อมน้ำมัน

   -  รับประทานอาหารทีมีส่วนประกอบที่มีน้ำตาลมาก

    - รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน

    4. การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ

อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

        อันตรายของโคเลสเตอรอลในเลือดสูง  เกิดจากเส้นเลือดแดงอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์

อันตรายของภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง 

 - ปวดท้อง บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นตับอ่อนอักเสบได้

 - ปื้นเหลืองที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นปื้นหนา โดยตรงกลางมีสีเหลือง ส่วนฐานของเม็ดพุพองนี้จะมีลักษณะสีแดง จะพบเมื่อไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างมาก จุดที่เกิด เช่น หนังตา ข้อศอก เข่า ฝ่ามือ

 - ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายมีอาการดินโซเซ และกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง

 - ปวดข้อ แขน ขา ตึง เหยียดได้ไม่ถนัด

 - หลอดเลือดแดงแข็งมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเกิดอัมพาตได้

การปฏิบัติตัวของผู้ที่มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง

1. เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดย

- ลดปริมาณอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ สมองสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เครื่องในสัตว์ โดยจำกัดให้ได้รับได้ไม่เกินละ 300 มิลลิกรัม ต่อวัน

- ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หนังเป็ด – ไก่

- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว

- การปรุงอาหารที่ใช้วิธี นึ่ง ต้ม  อบ ย่าง แทนการทอดหรือการใช้น้ำมันผัด

- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์

2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

3. งดการสูบบุหรี่

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

   เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยวันละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง

5. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด

อาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

ชนิดอาหาร

อาหารที่รับประทานได้

อาหารที่ควรลด

เนื้อสัตว์และ

ถั่วเมล็ดแห้ง

เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น ปลา อกไก่ หมูเนื้อแดง ถั่วเหลือง  ถั่วแดง เต้าหู้

เนื้อสัตว์ติดมันทุกชนิด เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ หมูสามชั้น อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลาหมึก

ธัญพืช

ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ก๋วยเตี๋ยว

มันชนิดต่างๆ

ข้าวมันไก่ กล้วยทอด มันทอด

เผือกทอด ปาท่องโก๋ ข้าวเกรียบ

ผัก

ผักสด ผักต้ม หรือผักที่ทำให้สุกโดยไม่ใช้น้ำมัน ถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อน

ผักที่ทำให้สุกโดยใช้น้ำมัน เช่น

ผักทอด ผักผัดน้ำมัน ผักราดกะทิ

ผลไม้

ผลไม้สด เช่น ส้มเขียวหวาน กล้วย

ส้มโอ ฝรั่ง มะม่วง แอปเปิ้ล  ลูกแพร์  ผลไม้แห้ง เช่นลูกพรุน

อโวคาโด

ไขมัน

ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันสลัด ที่ทำจากพืชในปริมาณจำกัด

ไขมันสัตว์ เช่น แคบหมู น้ำมันหมู

น้ำมันมะพร้าว

เบ็ดเตล็ด

วุ้นธรรมดา เยลลี่ ซุปใส

(เอาไขมันออก) ซุปผัก

ขนมเค้กชนิดต่าง ๆ คุกกี้พาย

ขนมหวานใส่กะทิ ขนมที่ทอดด้วยน้ำมัน ซุปอื่นๆ ช็อกโกแลต ทอฟฟี่ ลูกกวาด แกงกะทิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

BACK