หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ถังออกซิเจน (Oxygen Tank) 

       เป็นภาชนะสำหรับบรรจุ ก๊าซที่อยู่ในสถานะของเหลวและมีความดันต่ำเป็นถัง 2 ชั้น ระหว่างชั้นนอกกับชั้นในเป็นฉนวนสุญญากาศ เมื่อใช้กับผู้ป่วยจะต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นก๊าซออกซิเจนเสียก่อน เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ระบบการหายใจบกพร่อง ภาวะการเผาผลาญของร่างกายผิดปกติ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ตัวนำออกซิเจนน้อยจากการเสียเลือดมาก มีภาวะโลหิตจาง และสมองได้รับการบาดเจ็บ หรือผู้ที่มีอาการขาดออกซิเจนหรือมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ   หรือออกซิเจนไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น
-หายใจสั้น
-หายใจเร็ว
-หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
-ไอหรือหายใจมีเสียงหวีด
-เหงื่อออก
-สีผิวเปลี่ยนแปลงไป
-สับสน

       การให้ออกซิเจนจากถัง (Oxygen Cylinders) แพทย์จะให้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการออกซิเจนในช่วงระยะเวลาอันสั้น เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่ออกจากการเจ็บป่วย โดยผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนจากหน้ากากหรือผ่านทางท่อสายยาง และระหว่างที่ใช้จะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และจะหยุดให้ออกซิเจนเมื่อพบว่าออกซิเจนในเลือดกลับสู่ระดับปกติ
เครื่องให้ออกซิเจนแบบพกพา (Portable Oxygen) ช่วยให้ผู้ป่วยเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก แต่จำเป็นต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ว่าจะสามารถใช้ได้หรือไม่ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ โดยเครื่องให้ออกซิเจนชนิดนี้ให้ออกซิเจนได้ประมาณ 2 ลิตรต่อนาที หรืออาจมากกว่า และน้ำหนักของเครื่องให้ออกซิเจนแบบเต็มถังจะมีน้ำหนักประมาณ 2.3 กิโลกรัม และบรรจุออกซิเจนที่สามารถใช้ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง

         แพทย์จะตรวจปริมาณออกซิเจนในหลอดเลือดแดง เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยควรจะได้รับประโยชน์จากการบำบัดรักษาด้วยออกซิเจนหรือไม่ รวมไปถึงการใช้เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดและชีพจร ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยวัดระดับของออกซิเจนในเลือดได้ โดยระดับของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ระหว่าง 75-100 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากพบว่ามีระดับออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 60 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่า แสดงว่าบุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเสริมหรือออกซิเจนบำบัด
     อย่างไรก็ตาม การได้รับออกซิเจนปริมาณมากเกินไปสร้างความเสียหายให้แก่เซลล์ในปอดได้ โดยระดับของออกซิเจนในเลือดควรไม่เกิน 110 มิลลิเมตรปรอท

นอกจากนั้น บางรายอาจต้องได้รับออกซิเจนบำบัดไปตลอดชีวิต และบางรายต้องการเพียงแค่ชั่วคราวหรือจำเป็นแค่ในสถานการณ์หนึ่งเท่านั้น โดยออกซิเจนบำบัดสามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาล ที่บ้าน หรือใช้ออกซิเจนแบบพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ นอกบ้านได้สะดวก

ประโยชน์ของออกซิเจนบำบัด

ออกซิเจนจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องประสบภาวะระดับออกซิเจนต่ำ ในรายที่มีความจำเป็นต้องใช้ ออกซิเจนจะช่วยลดอาการที่เกิดจากการขาดออกซิเจนและช่วยให้บุคคลเหล่านั้นทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น นอกจากนั้น ยังทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและยังช่วยยืดอายุขัยให้ผู้ป่วยจำนวนมาก
ออกซิเจนช่วยลดอาการที่มาจากภาวะขาดออกซิเจน เช่น
-ปวดศีรษะ อ่อนล้า
-หายใจตื้น
-หงุดหงิด
-กระวนกระวาย
-ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาเด็กที่มีภาวะทางปอดเรื้อรัง

การระมัดระวังและความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์สำหรับออกซิเจน

          แม้ว่าออกซิเจนจะไม่ใช่แก๊สที่ไวไฟ แต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการเผาไหม้ ดังนั้น ผู้ใช้ควรใช้อย่างระมัดระวัง ตามคำแนะนำต่อไปนี้

- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือระวังไม่ให้ผู้ใดสูบบุหรี่ในระหว่างที่กำลังใช้อุปกรณ์ให้ออกซิเจน
-ควรจัดวางอุปกรณ์ให้ออกซิเจนห่างจากไฟหรือแหล่งให้ความร้อน เช่น เตาแก๊ส อย่างน้อย 6 ฟุต
-อย่าใช้ของเหลวที่ติดไฟง่าย เช่น สารทำความสะอาด ทินเนอร์ หรือยาพ่นที่เป็นละอองในอากาศ ระหว่างที่ใช้อุปกรณ์ให้ออกซิเจน
-ควรจัดวาง ถังออกซิเจน ให้ตั้งตรงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
-ควรเก็บอุปกรณ์ให้ ออกซิเจน ไว้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรเก็บไว้ในหีบใส่ของหรือตู้เสื้อผ้าขนาดเล็ก
-ควรเตรียมเครื่องดับเพลิงไว้ให้พร้อมใช้งาน
-ติดตั้งอุปกรณ์เตือนไฟไหม้หรือตรวจจับควันไฟในบ้านและตรวจสอบว่าใช้ได้อยู่เสมอ  อาจแจ้งให้หน่วยดับเพลิงในพื้นที่ทราบว่าตนเองมีอุปกรณ์ให้ออกซิเจน

-ไม่ควรวางถังออกซิเจนในที่ที่มีความร้อนสูงหรือมีวัตถุไวไฟอาจเป็นอันตรายได้

-ไม่ควรสูบบุหรี่ขณะให้ออกซิเจนหรือสูบบุหรี่ใกล้ถังออกซิเจน

-ควรวางถังในพื้นที่ราบเรียบป้องกันการตกกระแทก

-ควรทำความสะอาดข้อต่อระหว่างถังและตัวเกจ์ออกซิเจนเป็นประจำ

-ควรทำความสะอาดกระปุกน้ำและอุปกรณ์ต่างๆเป็นประจำ

-สังเกตแรงดันของตัวเครื่องทุกครั้งหลังการใช้งานเพื่อป้องกันออกซิเจนหมดในเวลาฉุกเฉิน

ชุดให้ออกซิเจน สำหรับผู้ป่วย ประกอบด้วย

BACK