หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ที่นอนลม (Mattress) 

     ที่นอนลม (Mattress) คือ ที่นอนที่ทำจากเนื้อพลาสติก ออกแบบให้ขยับได้เพื่อลดแรงกดทับ เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมานานช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับในระดับที่ 1-4 แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ที่นอนลมแบบลอน และแบบรังผึ้ง ซึ่งที่นอนลมแบบลอนจะบำรุงรักษาเปลี่ยนลอนได้ง่ายกว่า 

 

ประโยชน์ของที่นอนลม enlightened

  1. 1. ป้องกันแผลกดทับ

ที่นอนลมเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ต่างจากที่นอนทั่วไป ถูกออกแบบให้เกิดความสมดุลเวลานอน ผิวหนังจะไม่ถูกกดทับเฉพาะจุด ด้วยความนุ่มของที่นอน และความยืดหยุ่น ทำให้สามารถป้องกันแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ผลิกตัวไปมาลำบาก ก็ช่วยให้นอนสบายมากขึ้น ไม่เจ็บและทรมารจากแผลกดทับ

  1. 2. หาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป

ปัจจุบันที่นอนลมรังผึ้ง ที่นอนลมแบลอนมีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป สามารถหาซื้อข้างบ้านได้สะดวก แต่ควรเลือกร้านที่ขายอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น ไม่ควรซื้อในราคาที่ต่ำเกินจริง เพราะอาจจะได้สินค้าที่เสียหายได้ง่าย เพราะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพราะฉะนั้นควรเลือกที่นอนลมที่มีตรามาตรฐานรับรองเท่านั้น

  1. 3. เคลื่อนย้ายและดูแลรักษาได้ง่าย

เป็นที่นอนลมที่มีน้ำมันเบามาก รองรับน้ำหนักได้กว่าร้อยกิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้กับผู้ป่วยติดเตียง และยังดูแลรักษาได้ง่าย

  1. 4. ผู้ป่วยนอนหลับสบายมากขึ้น

ปกติร่างกายของคนเรา จะมีการระบายอากาศ หรือถ่ายเทอากาศความร้อนออกจากร่างกายสม่ำเสม ออกจากผิวหนัง เมื่อผิวหนังของเราถูกกดทับ หรือระบายอากาศออกไปไม่ได้ ก็จะเกิดอาการแผลกดทับ ซึ่งที่นอนลม สามารถช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ตลอดเวลา ทำให้คนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียง นอนหลับสบายมากขึ้น

  1. 5. ใช้งานง่าย


ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ yes


ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่ไม่รู้สึกตัว หรือเป็นอัมพาต นอนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานานไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย


ʕ·ᴥ·ʔ ผู้มีการจำกัดการเคลื่อนไหว หรือจำกัดกิจกรรมเช่น ผู้ที่ใส่เฝือกหลังการผ่าตัดใหญ่


ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ป่วยที่มีความเปียกชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ หรือปัสสาวะราดบ่อย ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นด่าง ความสามารถในการต้านเชื้อโรคจากแบคทีเรียลดลง ทำให้เนื้อเยื่อได้รับการระคายเคือง เกิดการฉีกขาดได้ง่าย และเกิดแผลกดทับในที่สุด


ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลให้มีระดับโปรตีนในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้มีอาการบวมซึ่งเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนเลือดในการส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ จึงเกิดแผลกดทับ เกิดแผลได้ง่าย และแผลจะหายช้า


ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือผอม ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น มีโอกาสเกิดแผลกดทับได้มากกว่า


ʕ·ᴥ·ʔ แรงกดและแรงเสียดทานทำให้เนื้อเยื่อเกิดการบาดเจ็บฉีกขาดได้ง่าย มักพบในรายที่เป็นอัมพาตต้องยกผู้ป่วยบ่อยจึงทำให้เกิดแผลกดทับได้ง่าย


ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส (Celsius) ทำให้มีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น เป็นปัจจัยเสริมให้เซลล์และเนื้อเยื่อขาดเลือดและเนื้อเยื่อตายได้ง่าย


ʕ·ᴥ·ʔ ยิ่งอายุมากขึ้นหมายความว่า ร่างกายของเราจะฟื้นตัวได้ช้าลง จึงเพิ่มความรุนแรงของแผลกดทับ

 

ตำแหน่งที่เกิดแผลกดทับได้บ่อย ⚡

 ท่านอนหงาย : ท้ายทอย ใบหู ด้านหลังส่วนบน ก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า

 ท่านอนคว่ำ : ใบหูและแก้ม หน้าอกและใต้ราวนม หน้าท้อง หัวไหล่ ปุ่มกระดูกสะ โพก หัวเข่า ปลายเท้า

 ท่านอนตะแคง : ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้นกบ ปุ่มกระดูกต้นขา ฝีเย็บ หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม

 ท่านั่ง : ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้นกบ หัวเข่าด้านหน้า กระดูกสะบัก เท้า ข้อเท้าด้านนอก

 

ระดับความรุนแรงของแผลกดทับ ⚡

   ระดับที่ 1  ผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับจะเป็นรอยแดง ไม่มีรอยฉีกขาด แต่สีของผิวหนังอาจเป็นสีแดงคล้ำเพราะมีการคั่งของเลือดจากการกดทับ รอยแดงจะไม่หายไปภายใน 30 นาทีเมื่อเปลี่ยนท่า

   ระดับที่ 2  มีการสูญเสียผิวหนังบางส่วนถึงชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังอาจฉีกขาดหรือไม่ฉีกขาดเช่น รอยถลอก เป็นตุ่มพองอาจมีน้ำเหลืองบริเวณตุ่มน้ำที่แตกออกหรือเป็นแผลตื้นๆ โดยไม่มีเนื้อตาย

   ระดับที่ 3  มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมด เกิดแผลลึกถึงชั้นใต้ผิวหนัง ชั้นพังผืด แต่ไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก อาจเป็นหลุมลึกหรือเป็นโพรงใต้ขอบแผลอาจพบเนื้อตายบางส่วนของแผล

   ระดับที่ 4  มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมด มองเห็นชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น หรือเยื่อหุ้มข้อต่อ พื้นแผลอาจมีเนื้อตายหรือสะเก็ดแข็งปกคลุมบางส่วน และส่วนใหญ่มีโพรงและช่องใต้ขอบแผล

การป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ 

enlightened ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดแรงกด ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น หมั่นตรวจสอบบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับทุกวัน สังเกตรอยแดงของผิว หากมีรอยแดงถือว่ามีโอกาสเสี่ยงที่บริเวณดังกล่าวจะเกิดแผลกดทับ

enlightened การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด เช่น ที่นอนโฟม หรือที่นอนลม ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยง ใช้เบาะรองก้นในผู้ที่นั่งรถเข็น ยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 15 – 30 นาที เพราะจะช่วยลดแรงกดทับบริเวณก้นกบ ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายเช่น ผ้ายกตัว แผ่นรองตัวขณะเคลื่อนย้าย (Pat slide)

enlightened หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น หลังทำความสะอาด ร่างกายควรทาครีม ทาโลชั่น หรือน้ำมันมะกอก วันละ 3 – 4 ครั้งเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้นป้องกันผิวแห้งและฉีกขาด ผู้ที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่ายและซับให้แห้ง พร้อมใช้ปิโตรเลียม เจลลี่ หรือวาสลีน (Vaseline) ทาหนาๆบริเวณรอบๆปากทวารหนัก และแก้มก้นทั้ง 2 ข้างเพื่อป้องกันการระคายผิวหนังจากความเปียกชื้น ในรายที่ไม่สามารถควบคุมการถ่ายอุจจาระควรใช้ แผ่นรองก้น (Blue pad) แทนการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพราะมีโอกาสเกิดการอับชื้นได้ง่ายและเกิดแผลกดทับตามมา

enlightened ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

enlightened จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดการอับชื้นของผิวหนัง

enlightened ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาด แห้งและเรียบตึงเสมอเพื่อลดความเปียกชื้นและลดแรงเสียดทาน

enlightened สวมใส่เสื้อผ้าที่พอดีไม่คับแน่นเกินไป จัดเสื้อผ้าให้เรียบ หลีกเลี่ยงการนอนทับตะเข็บเสื้อและปมผูกต่างๆเพื่อลดแรงกดบริเวณผิวหนัง

enlightened เลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ได้รับอาหารครบตามหลักโภชนาการ (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่) โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินซี และดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้วจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และผิวหนังยืดหยุ่นมีความชุ่มชื้น

BACK