หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

กระเพาะอาหารอักเสบ (Peptic Ulcer Disease) 

 “ปวดท้อง” แบบนี้ใช่ “โรคกระเพาะ” (อาหารอักเสบ)” หรือไม่… 

 
     โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) ได้แก่ โรคที่มีแผลขึ้นในกระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเกิดแผลในบริเวณปลายหลอดอาหารส่วนที่อยู่ต่อกับกระเพาะอาหารร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ เกิดจากเยื่อเมือกบุภายในทางเดินอาหารเหล่านี้ถูกทำลายโดยน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร อาการที่พบได้บ่อย คือ ปวดท้อง มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอช ไพโลไร หรือการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดเป็นเวลานาน เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แผลในกระเพาะอาหารพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ 


 
อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น 

 
     อาการที่สำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น คือ ปวดท้องบริเวณยอดอกหรือบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักปวดเมื่อหิว หรือหลังรับประทานอาหารแล้วประมาณ 2-5 ชั่วโมง อาจตื่นกลางคืนเนื่องจากอาการปวดท้อง ซึ่งอาการปวดท้องนี้จะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร หรือรับประทานยาเคลือบกระเพาะ หรือยาลดกรด 

     ส่วนอาการอื่นๆที่พบได้ คือ คลื่นไส้ อาจมีอาเจียนบางครั้ง เบื่ออาหาร ผอมลง อาเจียนเป็นเลือด หรือ มีอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย มีอาการท้องเฟ้อ อิ่มง่าย จุกหน้าอก แน่นท้อง เรอบ่อย อาหารไม่ย่อย และไม่มีความอยากอาหาร 

 
ผลแทรกซ้อนหรืออาการข้างเคียงของโรค yes

 
     ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นภาวะที่รุนแรง และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยผลข้างเคียงที่พบได้ คือ 


 
สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น yes

 
     สาเหตุที่พบบ่อยของโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ เอช ไพโลไร (H. pylori หรือ Helicobacter pylori) พบได้ประมาณ 60% ของแผลในกระเพาะอาหารทั้งหมด และเป็นประมาณ 90% ของแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นทั้งหมด 


 
รู้จัก เชื้อเอช ไพโลไร (H. pylori) กันก่อน
 enlightened

     “เอช ไพโลไร (H. pylori)” เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในเยื่อบุกระเพาะ ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุกระเพาะ เกิดแผล และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 


สาเหตุอื่นๆที่พบได้ คือ enlightened

 รับประทานยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบในกลุ่มยาแก้ปวดเอ็นเสดส์ (NSAIDs, Non-steroidal anti-inflammatory drugs) ที่ใช้รักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่างๆ และโรคเกาต์ เช่น ยาแอสไพริน ยาเซเลโคซิบ(Celecoxib) ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) และยา ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) 


 ความเครียด 


 การสูบบุหรี่ 


 การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 


 รับประทานอาหารรสเผ็ด 


 รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา 


การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ


    โรคกระเพาะอาหารอักเสบ สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี และผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติท เช่น การตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Gastroscope: EGD) เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี


    อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง ดังนี้

  1.       1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและโภชนาการ ได้แก่ รับประทานอาหารตรงเวลาทุกมื้อ รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย

     

  1.       2.งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

     

  1.       3.งดสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

     

  1.       4.ไม่เครียดหรือวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ

     

  1.       5.รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ

     

  1.       6.ไม่ซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร


ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร 


      1. มีอาการปวดท้องในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป 


      2. เลือดออกทางเดินอาหาร (อาเจียนมีเลือดปน, ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปน หรือถ่ายอุจาระมีสีดำ), น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ


      3. ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาลดกรดแบบเม็ด เป็นระยะเวลา 4 - 8 สัปดาห์หลังการรักษา


      4. มีอาการเป็นๆหายๆบ่อยครั้ง, มีประวัติมะเร็งกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารของญาติสายตรงลำดับหนึ่ง (ได้แก่ พ่อ, แม่, พี่, น้อง)


     ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้นควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งการส่องกล้องกระเพาะอาหารเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและมีภาวะแทรกซ้อนน้อย ทำได้โดยการพ่นยาชาเฉพาะที่บริเวณในช่องคอ หรือยาฉีดทางหลอดเลือดดำเพื่อให้ผู้ป่วยหลับ และนำกล้องลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น  เพื่อให้เห็นการอักเสบ แผล หรือเนื้องอก ทั้งนี้ การส่องกล้องยังสามารถบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว, สอดที่ตัดชิ้นเนื้อขนาดเล็กผ่านทางกล้อง เพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิเพื่อหามะเร็ง เป็นต้น


 


เอกสารอ้างอิง 

• ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร. คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/359_1.pdf 
• POBPAD. โรคกระเพาะอาหารอักเสบ. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pobpad.com/โรคกระเพาะ
อาหารอักเสบ 
• นายแพทย์พิสัย แก้วรุ่งเรือง. โรงพยาบาลศิศรินทร์. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
https://www.sikarin.com/content/detail/ปวดท้องแบบนี้ใช่โรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือไม่ 

BACK