หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

นอนติดเตียง (Bedridden) 


     โรคนอนติดเตียง (Bedridden) เป็นโรคที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยจึงทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาและทำกิจวัตรประจำวันต่างๆอยู่เตียง ซึ่งการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานส่งผลให้ ผู้ป่วยมีปัญหาต่างๆตามมา เช่น เกิดแผลกดทับ กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ข้อต่อเกิดติดขัด เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยมี อาการแย่ลง ผู้ดูแล (Caregiver(s)) จึงจำเป็นมากในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ 


 สาเหตุที่ทำให้นอนติดเตียง 


     สาเหตุของโรคนอนติดเตียงเกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้หรือไม่สามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ เช่น โรคเส้นเลือดในสมองตีบ/แตก (Stroke) อุบัติเหตุ (Accident) ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก (COMA) เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทำให้ต้องนอนอยู่บนเตียงส่งผลให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาดังนี้ 


สิ่งที่ควรเฝ้าระวังสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง yes


 แผลกดทับ จากการนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน นับเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อย ทำให้บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆ  ขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง เกิดการตายของเซลล์ผิวจนเกิดเป็นแผล สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น ท้ายทอย  สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า เป็นต้น ในระยะแรกอาจเกิดอาการลอกแค่ที่ชั้นผิวหนัง ถ้าปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือถึงชั้นกระดูก ทำให้โอกาสเกิดการติดเชื้อมีมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงขั้น เสียชีวิตได้หน้าที่ของผู้ดูแลจึงควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงายหรือ นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าและการทำความสะอาดผิวหนัง ไม่ควรให้เปียกชื้น ควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อลดแรงกดทับ เช่น ฟองนํ้า ที่นอนลม หมอนผ้านุ่ม เจลรองปุ่มกระดูก หากเกิดแผลสามารถใช้ยาทา ลดการอักเสบและสมานแผลได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา 


 ภาวะกลืนลำบาก เกิดความเสี่ยงต่อการสำลักอาหารขณะรับประทานอาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ หายใจไม่ออกได้เนื่องจากเศษอาหารเข้าไปติดในหลอดลม ควรปรับเตียง 45-90 องศา จับผู้ป่วยนั่งบนเตียง โดยใช้ หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัวขณะรับประทานอาหาร ควรให้อาหารข้นแต่ปริมาณน้อยก่อน เช่น โจ๊กปั่น เพื่อสังเกตการกลืนของผู้ป่วย ไม่รีบป้อนอาหารและให้ผู้ป่วยก้มคอขณะกลืนอาหาร เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดใน หลอดลม หากเกิดการสำลักให้หยุดป้อนอาหารทันที 


 การดูแลความสะอาด ได้แก่ 

  1.      1.การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย โดยเฉพาะการใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดให้ดี ด้วยน้ำสบู่และเปลี่ยนทุก 2-4 สัปดาห์ หากพบความผิดปกติขณะปัสสาวะหรือขับถ่ายควรรีบนำผู้ป่วยส่ง โรงพยาบาลทันที 
  1.      2.การดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องปากรวมถึงปอดติดเชื้อหรืออักเสบจากการสำลัก เช่นการใช้น้ำยาบ้วนปาก การทำความสะอาดช่องปากหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ รวมทั้งเอาอาหารที่ ค้างในช่องปากออกให้หมด 
  1.      3.สภาพแวดล้อมของห้องนอน รักษาความสะอาด จัดของให้อากาศถ่ายเทสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 


 รักษาสุขภาพจิต ด้วยภาวะโรคและสภาพแวดล้อมอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้า ผู้ดูแลควรหากิจกรรมทำร่วมกับผู้ป่วยชวนสนทนา ให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น 


กำลังใจสำหรับผู้ดูแล enlightened


      งานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นงานที่ทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยทั้งกายใจและเป็นงานที่ยากที่สุดสำหรับสมาชิกใน ครอบครัวและผู้ดูแล แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียเท่านั้น จริงๆแล้วความสุขใจจากหน้าที่นี้ก็มีอยู่ การที่สมาชิกในครอบครัวได้ดูแล บุคคลในครอบครัว นอกจากจะเป็นการแสดงความรักและความกตัญญูต่อกัน เมื่อบุคคลอันเป็นที่รักจากไป ผู้ดูแลเองจะได้ไม่ จมอยู่กับความรู้สึกผิดเพราะได้ใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยอย่างคุ้มค่าและทำดีที่สุดแล้วในขณะที่ผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ ส่วนกรณีที่ผู้ป่วย และผู้ดูแลไม่ได้มีความรัก ความผูกพันกันมาก่อน อาจถือว่าเป็นช่วงเวลาที่จะอโหสิกรรมและให้อภัยต่อกันในความผิดบาปใน อดีต ความโกรธจะได้ไม่ติดตัวผู้ดูแลต่อไปเมื่อผู้ป่วยจากไปแล้ว การให้โอกาสได้ดูแลกันในช่วงสุดท้ายของชีวิตถือเป็นบุญที่เขา มอบให้เราก่อนจากกันและการทำบุญใหญ่ก็ย่อมจะเหนื่อยเป็นธรรมดา 

BACK