หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

เส้นเลือดขอด (Varicose Vein)


เส้นเลือดขอดคืออะไร มันมาได้ยังไงกันนะ?


     เส้นเลือดขอด (Varicose Vein) เป็นอาการหลอดเลือดดามีความผิดปกติ โป่งพองขึ้น พบบ่อยที่บริเวณขาและเท้า โดยลิ้นเปิด ปิดของหลอดเลือดดา ซึ่งทาหน้าที่ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เริ่มเสื่อมสภาพจนเกิดความผิดปกติของลิ้นและผนังหลอดเลือดเกิดขึ้น เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้หมด ทาให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ไม่ดี จึงเกิดการคั่ง และเกิดการขยายตัวของเส้นเลือด จนในที่สุดโป่งพองออกจนกลายเป็นเส้นเลือดขอด เห็นชัดเจนบริเวณใต้ผิวหนัง ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ต้นขา มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆเหมือนใยแมงมุม


 ลักษณะอาการ


     ช่วงแรกๆ มักจะไม่มีอาการอะไรเลย อาจพบเพียงรอยนูนของเส้นเลือด หากยืนนานๆ ในตอนเป็นอาจมีความรู้สึกปวดหรือเท้าหนักๆ อาจรู้สึกเจ็บหรือคันที่ตัวเส้นเลือดขอดเองได้ เท้าจะบวมขึ้น เป็นตะคริว ถ้าเป็นมากขึ้นอาจจะมีการอักเสบที่เส้นเลือดขอดบริเวณผิวหนัง จะเป็นสีแดงเรื่อๆ หรือแตกเป็นแผลเลือดไหลได้ ขึ้นอยู่กับระยะของคนไข้


 สาเหตุของเส้นเลือดขอด


     สาเหตุหลักของการเกิดเส้นเลือดขอด คือ เกิดจากอนุมูลอิสระมาทาลายลิ้นเปิด ปิดของหลอดเลือดและหลอดเลือดดาไม่แข็งแรง เนื่องจากชั้นคอลลาเจนที่ผนังหลอดเลือดเริ่มเสื่อมสภาพนั่นเอง จึงทำให้เกิดการคั่งของเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้หมด เลือดจึงไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ไม่ดี เกิดการคั่งและเกิดการขยายตัวของเส้นเลือด จนในที่สุดโป่งพองออกจนกลายเป็นเส้นเลือดขอด


 

 ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดขอด


 อายุที่มากขึ้นทำให้ประสิทธิภาพของลิ้นในหลอดเลือดดำเสื่อมลง เนื่องจากหลอดเลือดดำและกล้ามเนื้อจะสูญเสียความยืดหยุ่นทำให้แรงดันภายในหลอดเลือดผิดปกติได้ นอกจากนี้ผนังหลอดเลือดที่ถูกใช้งานมานานก็จะบางลง

 เพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศซาย

 พันธุกรรม อาจเพิ่มความเสี่ยงหากมีคนในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อในหลอดเลือดดำตั้งแต่กำเนิด

 น้ำหนักตัวเยอะ เกิดแรงดันบนหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเสือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้เกิดแรงดันที่ลิ้นหลอดเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการรั่วของเสือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในผู้ป่วยเพศหญิง

 หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงผนังหลอดเลือดคลายตัวทำให้ลิ้นของหลอดเลือดทำงานบกพร่อง ความเสี่ยงจะเพิ่มตามอายุครรภ์และจำนวนครั้งที่ตั้งครรภ์

 ผู้ประกอบอาชีพหรือมีพฤติกรรมที่จำเป็นต้องยืนหรือนั่งทำทางเดิมเป็นเวลานานและการใส่รองเท้าส้นสูง เช่น พนักงานขายในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินบนรถโดยสาร เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหลอดเลือดดำขอดมากขึ้นเนื่องจากความดันของหลอดเลือดดำที่เพิ่มขึ้นจากการยืนเป็นเวลานานและการไหลเวียนของเลือดไม่ดี

 ขาดการออกกำลังกายส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี

 การสูบบุหรี่ เนื่องจ กในบุหรี่มีสารจำพวกไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) มีผลทำลายเนื้อเยื่อในหลอดเลือดดำและ

เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

ความรุนแรงของอาการเส้นเลือดขอด แบ่งเป็น 6 ระยะ 

  1. ระยะที่ 1 เส้นเลือดมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม มักมีขนาดน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร
  2. ระยะที่ 2 เส้นเลือดเริ่มปูดเป็นตัวหนอน ขนาดใหญ่มากกว่า 3 มิลลิเมตร และมีอาการปวดเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่ง เดิน หรือ ยืน
  3. ระยะที่ 3 เริ่มมีอาการขาบวม และปวดมากขึ้นถึงแม้จะใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ
  4. ระยะที่ 4 สีผิวที่ขาเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มขึ้น ซึ่งเป็นภาวะอักเสบของผิวหนัง
  5. ระยะที่ 5 แผลหายจากการรักษา แต่ยังมีลักษณะอื่น ๆ ร่วม เช่น ผิวหนังที่เปลี่ยนสีเป็นสีดำ
  6. ระยะที่ 6 เกิดแผลที่เป็นลักษณะเฉพาะของแผลบริเวณหลอดเลือดดำ เช่น ขอบแผลแดง

การป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด

     1. เลี่ยงการยืนเป็นระยะเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องยืนเป็นระยะเวลานาน

     2. เลี่ยงการสวมเสื้อผ้าหรือถุงน่องที่รัดมากๆ และรองเท้าส้นสูง

     3. ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายและระบบไหลเวียนโลหิต

     4. ตรวจสุขภาพประจำปี

     5. สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ควรงดหรือเข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเสือดในอนาคต

     6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การรักษาเส้นเลือดขอด ในปัจจุบันมีการรักษาเส้นเลือดขอตหลายวิธีด้วยกัน

ของยา ได้แก่ ผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดหัว พบว่าอาการข้างเคียงส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารเป็นหลัก ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดไม่รุนแรงและไม่จำเป็นต้องหยุดยา

การทำเลเซอร์ หรือ ใช้คลื่นวิทยุ และแบบไม่ใช้ความร้อน คือการฉีดสารเคมี หรือ ใส่กาววิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือดดำจนไม่มีเลือดไหลผ่าน ซึ่งวิธีนี้เป็นการผ่าตัดสมัยใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม และให้ผล

การรักษาที่ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม ทำให้มีแผลขนาดเล็กประมาณ 2 - 3 มม. เจ็บน้อย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า

BACK