หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ปวดหลัง (Chronic Back Pain)


     ปวดหลัง (Back Pain) เป็นอาการที่พบบ่อยมากอาการหนึ่ง 80% ของผู้ใหญ่มักจะเคยมีอาการนี้มาแล้ว ทั้งนี้โอกาสปวดหลังเกิดได้ใกล้เคียงกันทั้งในเพศหญิงและเพศชาย มักจะหายได้เองหรือรักษาหายได้ภายในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน หากเกิดแบบเฉียบพลันเรียกว่า อาการปวดหลังเฉียบพลัน แต่ถ้าอาการปวดหลังช่วงล่างค่อยเป็นค่อยไปและแม้รักษาก็ยังมีอาการอยู่นานเกิน 3 เดือนขึ้นไป เรียกว่า อาการปวดหลังเรื้อรัง


สาเหตุของอาการปวดหลัง


1.พฤติกรรมการนั่งนานๆหรือนั่งผิดท่า เช่น นั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ เนื่องจากการนั่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกหลัง โดยเฉพาะนั่งนานๆและโค้งงอผิดท่าบวกกับความตึงเครียดซึ่งจะทาให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกิดการเกร็งจะยิ่งส่งผลให้ปวดหลังมากยิ่งขึ้น พบได้บ่อยใน ผู้ที่มีอาชีพนั่งทางานเป็นเวลานานตั้งแต่วัยรุ่น วัยทางาน จนถึงวัยสูงอายุ


2.สาเหตุของอาการปวดหลังจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม


       ท่ายืนประกอบกับน้าหนักตัวมาก มีหลังแอ่น ใส่รองเท้าส้นสูง
       ท่านั่ง เช่น นั่งทางานในท่าที่หลังงอ ไหล่ห่อ เพราะโต๊ะทางานเตี้ยเกินหรืออยู่ห่างจากตัวมากไป, นั่งเก้าอี้ที่มีความนุ่มมากไปทาให้ตัวงอ, นั่งกับพื้นในท่านั่งพับเพียบทาให้ลาตัวเอียงไม่เท่ากัน
       ท่านอนโดยเฉพาะการนอนในที่นอนที่นุ่มมากๆ หรือแข็งมากๆ จะทาให้หลังโค้ง งอ เอียง ได้


3.โรคอื่นๆ เช่น โรค/ภาวะปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม, โรค/ภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวจากโรคกระดูกพรุน, กระดูกสันหลังเคลื่อนจากสาเหตุต่างๆ เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา, โรค/ภาวะโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ, โรคมะเร็งแพร่กระจายสู่กระดูกสันหลังช่วงล่าง เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป


ลักษณะอาการปวดหลังที่พบได้บ่อย


 ปวดหลังบนกระดูกสันหลังช่วงล่างและ/หรือปวดทั้งแผ่นหลัง
 ปวดร้าวลงขาด้านใดด้านหนึ่ง มักเกิดเพียงด้านเดียว
 เคลื่อนไหวหลังไม่ได้เพราะเจ็บ/ปวด ก้มตัวไม่ได้เพราะเจ็บ
 ยืนตรงไม่ได้เพราะเจ็บ/ปวดหลัง

ลักษณะอาการปวดหลังช่วงล่างที่พบได้บ่อย 

 ปวดหลังบนกระดูกสันหลังช่วงล่าง และ/หรือ ปวดทั้งแผ่นหลัง

 อาจปวดร้าวลงขาด้านใดด้านหนึ่ง มักเกิดเพียงด้านเดียว

 เคลื่อนไหวหลังไม่ได้เพราะเจ็บ/ปวด ก้มตัวไม่ได้ เพราะเจ็บ

 ยืนตรงไม่ได้เพราะเจ็บ/ปวดหลัง

การป้องกันอาการปวดหลัง การป้องกันอาการปวดหลังสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจาก

 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลัง เมื่ออยู่ในอิริยาบถต่างๆ ได้แก่ การยืน การเดิน การนั่งหรือการนอนโดยเฉพาะการนั่ง ไม่ควรนั่งหลังค่อมหรือนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมๆเป็นเวลานานเกินไป ควรลุกขึ้นยืนหรือเดินพักสักครู่เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังเกิดการคลายตัว ไม่ให้เกิดการอักเสบหรือปวดหลัง หากเสี่ยงไม่ได้จริงๆ ควรหาชัพพอร์ตสำหรับแนวสันหลังใส่เพิ่ม เพื่อลดการอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้งให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบได้ยากขึ้น

การรักษาอาการปวดหลัง

enlightened การรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระตับความรุนแรงของอาการหรือสาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดหลัง ถ้าเป็นอาการปวดในระยะสั้นคือเพิ่งปวดหรือปวดไม่มาก สามารถบรรเทาได้โดยการทาครีมบรรเทาอาการปวดซึ่งมีหลายยี่ห้อในท้องตลาด ทั้งที่ไม่มีส่วนผสมของยาลดการอักเสบและมีส่วนผสมของยาลดการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (buprofen) ไตโคลฟีแนค (Diclofenac) ไพร็อกซี่แคม (Piroxecam) หรือรับประทานยาแก้ปวดที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไป ได้แก่ กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs;NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพร็อกเซน (Naproxen) ได้โคลฟีแนค (Diclofenac) เป็นต้น และหากปวดมากอาจต้องใช้ยากลุ่มทรามาดอล (Tramadol ด้วย หากต้องใช้ยากลุ่มนี้บ่อยครั้ง อาจส่งผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้หลายอย่าง 

        ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ไตวาย โดยเฉพาะผู้ใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) เป็นประจำ

        ยากลุ่มทรามาดอล (Tramadol) อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก คลื่นไส้ สั่นและติดยาได้

enlightenedหากใช้ยาแก้ปวตติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของตและเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้และยาส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาได้ในบางคน จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาส่วนอาการปวตรุนแรงหรือเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดควบคู่ไปกับการรักษารูปแบบอื่น เช่นการทำกายภาพบำบัด การฝั่งเข็มหรืออาจรวมไปถึงการตรวจจำพวกเอกซเรย์หรือ Magnetic Resonance Imaging(MRI) และการผ่าตัดร่วมด้วย

การบริหารร่างกายสำหรับอาการปวดหลัง


     การบริหารควรเริ่มจากท่าทางง่ายๆ และทาได้โดยไม่เหนื่อยมาก ไม่เกิดอาการปวดมากขึ้นเมื่อร่างกายมีความพร้อมมากขึ้น จึงค่อยเพิ่ม ท่าบริหารในท่าที่ยากขึ้นหรือให้จานวนครั้งมากขึ้น เริ่มจากจานวนครั้งน้อย เช่น ท่าละ 5 – 10 ครั้งและเพิ่มเป็น 15 20 ครั้ง/วัน เช่น


 ท่าตั้งคลาน โย้ตัวไปนั่งบริเวณส้นเท้า ทา 20 รอบ


 กอดเข่าชิดอก ค้างไว้ 15 วินาที ทา 5 รอบ


 เท้าเหยียบเตียงหรือเก้าอี้ ดันสะโพกไปด้านหน้า ค้างไว้ 15 วินาที ทาด้านละ 5 รอบ


 ใช้มือท้าวเอว เอียงตัวด้านตรงข้าม ค้างไว้ 15 วินาที ทาด้านละ 5 รอบ

BACK